โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.-มสด.)

มหาวิทยาลัยสวนดุสิตได้เข้าร่วมสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) โดยดำเนินโครงการภายใต้กรอบการดำเนินงาน 3 กรอบ คือ กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร กรอบการใช้ประโยชน์ และกรอบการสร้างจิตสำนึก ซึ่งกรอบการดำเนินงานดังกล่าวประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 8 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช 2) กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช 3) กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช 4) กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช 5) กิจกรรมศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช 6) กิจกรรมวางแผนพัฒนาพันธุ์พืช 7) กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และ 8) กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ในปีการศึกษา 2561 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับงบประมาณแผ่นดินที่ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยและเป็นไปตามกรอบแผนแม่บทระยะ 5 ปีที่หก (ตุลาคม 2559 – กันยายน 2564) ของ อพ.สธ. ดำเนินงานโครงการแบบบูรณาการตามนโยบายของมหาวิทยาลัย ตามกรอบการดำเนินงาน 3 กรอบข้างต้น ใน 4 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 5 และกิจกรรมที่ 8 โดยสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน และสถาบันวิจัยและพัฒนา ทำหน้าที่เป็นหน่วยประสานงานและกำกับดูแลเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ คือ 1) ส่งเสริมการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนและสังคมให้เกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน 2) เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการให้บริการวิชาการ และ 3) เพื่อบูรณาการการบริการวิชาการกับการจัดการเรียนการสอนหรือวิจัยหรือทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

โดยในโครงการ อพ.สธ.-มสด. ในระยะที่สี่ (ปีการศึกษา 2563) เพื่อให้การจัดตั้ง “ศูนย์พันธุกรรมพืชอนุรักษ์ในจังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน” เกิดความต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จึงได้กำหนดแผนให้มีการจัดทำสวนพฤกษศาสตร์ ในพื้นที่มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี เพื่อเป็นให้แหล่งรวบรวมการเพาะปลูกพืชพันธุ์พื้นเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมทั้งดำเนินการปรับสภาพภูมิทัศน์ เพื่อให้สามารถปลูกพันธุ์พืชได้ตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เกิดเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ไม้หายากพันธุ์พื้นเมืองและพืชเศรษฐกิจในจังหวัดสุพรรณบุรีร่วมกับจังหวัดสุพรรณบุรี ดังภาพ นอกจากนี้สามารถใช้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ ใช้ในการศึกษาเป็นประโยชน์ในการบูรณาการการเรียนการสอน และมีการถ่ายทอดองค์รู้ให้แก่ยังกลุ่มเกษตร นักเรียน นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจ และเพื่อสนองแนวพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเป็นสถานที่ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ของเยาวชน โดยมีพื้นฐานการจัดทำข้อมูลสารสนเทศของพันธุ์ไม้ภายในมหาวิทยาลัยสวนดุสิตส่วนกลางอีกด้วย ดังนั้น “ศูนย์พันธุกรรมพืชอนุรักษ์ในจังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน” เป็นแหล่งการเรียนรู้พันธุกรรมพืชสมุนไพรพื้นเมืองที่ให้ชุมชน เกษตรกร บุคลากรสายวิชาการ อาจารย์ และนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์และเก็บรักษาพันธุกรรมพืชสมุนไพรพื้นเมืองหายากพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในจังหวัดสุพรรณบุรี

เกิด“ศูนย์พันธุกรรมพืชอนุรักษ์ในจังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน” รวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรพื้นเมืองประเภทไม้พุ่มและล้มลุกเพิ่มเติม และพืชเศรษฐกิจ เพื่อสร้างเป็นสังคมพืชในเขตพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 1 ศูนย์ ซึ่งสามารถให้ความรู้และพัฒนากลุ่มเครือข่ายเกษตรปลอดภัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน รุ่นที่ 1 ให้มีความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

นอกจากนี้ โครงการ อพ.สธ.-มสด. ปี 2563-2564 โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมจากภูมิปัญญาไทยสู่การต่อยอดเชิงธุรกิจ โดยใช้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บูรณาการเข้ากับความต้องการของวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรน้ำลูกยอเพื่อสุขภาพ เลขที่ 53 หมู่ 2 ตำบลพิหารแดง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากยอและของเหลือทิ้งในการทำน้ำลูกยอเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุดได้ผลิตภัณฑ์จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์โทนเนอร์บำรุงผิวแบบสเปรย์จากยอ, แชมพูปรับสีผมสมุนไพรจากยอ, ผลิตภัณฑ์เคราตินมาส์กผมจากยอ, วัสดุปลูกจากเมล็ดลูกยอ และตุ้มตอนกิ่ง สูตรเมล็ดลูกยอ และบูรณาการร่วมกันระหว่างการส่งเสริมสุขภาพอนามัยของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ โดยคณะพยาบาลศาสตร์อีกด้วย

โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้มีการสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้ผลิตภัณฑ์ทั้ง 5 ผลิตภัณฑ์ มีค่าเป้าหมาย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 (คะแนน เท่ากับ 4.00) พบว่า มีความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าคะแนน เท่ากับ 4.55 คะแนน (ร้อยละ 91.00), 4.58 คะแนน (ร้อยละ 91.60) และ 4.58 คะแนน (ร้อยละ 91.60) ตามลำดับ นอกจากนี้โครงการได้ดำเนินการประเมินผลความรู้ความเข้าใจการประยุกต์ใช้องค์ความรู้เพื่อสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย มีค่าคะแนน 4.60 คะแนน (ร้อยละ 92.00) (มีค่าเป้าหมาย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 (คะแนน เท่ากับ 4.00)) และสามารถนำประโยชน์จากโครงการไปต่อยอดในการพัฒนาธุรกิจได้ มีค่าคะแนน 4.60 คะแนน (ร้อยละ 92.00) (มีค่าเป้าหมาย ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 (คะแนน เท่ากับ 4.00)) และในส่วนของภาพรวมของโครงการ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการ มีความพึงพอใจในภาพรวม 4.54 คะแนน (ร้อยละ 90.80) (มีค่าเป้าหมาย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 (คะแนน เท่ากับ 4.00)) จากผลการดำเนินการจึงสามารถสร้างรายได้ตามพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียงและการต่อยอดเชิงธุรกิจ และแสดงศักยภาพของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ประจักษ์แก่บุคคลภายนอก รวมทั้งเป็นการสร้างแนวทางความเป็นเลิศทางวิชาการและการบริการ โดยได้มีการนำผลการดำเนินการในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โครงการฯ ได้รับเลือกจากโครงการการฝึกอบรมหลักสูตร Sufficiency Economy for Community Sustainability ร่วมกับกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ จัดอบรมหลักสูตรออนไลน์หลักสูตร Sufficiency Economy for Community Sustainability ระหว่างวันที่ 8 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2564 (12 วัน) ผ่านระบบ Zoom เพื่อเป็นการเผยแพร่หลักการเศรษฐกิจพอเพียงและเป็นการประชาสัมพันธ์ประเทศไทย ให้กับชาวต่างชาติที่สนใจ เช่น ประเทศพม่า มัลดีฟส์ ศรีลังกา เป็นต้น ได้รับความสนใจจากผู้เข้ารับการอบรม มีผลความพึงพอใจภาพรวมร้อยละ 89 (เป้าหมาย ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80) และผลิตเป็นวีดีโอสรุปผลโครงการเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.rspg.dusit.ac.th/64/