Food Policy, Green and Clean Univesity

มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมีนโยบายด้านอาหารโดยได้ใช้แนวทางปฏิบัติตามกฎกระทรวง สุขลักษณะของสถานที่จําหน่ายอาหาร พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยสถานที่จำหน่ายอาหารทั้ง 13 แห่ง มีการดำเนินงานสอดคล้องกันในการปฏิบัติตามกฎหมายสุขาภิบาลอาหาร นอกจากนี้ยังได้มีการพิจารณาแหล่งที่มาของอาหารเพื่อใช้ประกอบอาหารได้ถูกหลักสุขาภิบาล ปี 2564 และปี 2565 ตามแนวทางที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการประชาสัมพันธ์ไว้

ส่วนการดำเนินงานด้านการจัดการขยะมูลฝอย และแนวทางการขับเคลื่อนความร่วมมือด้านจัดการขยะมูลฝอยของมหาวิทยาลัยไปสู่ศูนย์นอกที่ตั้งนั้น มหาวิทยาลัยได้กำหนดแนวทางไว้บนเว็บไซด์ของมหาวิทยลัย http://www.dusit.ac.th/2021/880319.html และได้มีการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในระดับมหาวิทยาลัย (Low Emission Support Scheme: LESS) http://www.dusit.ac.th/2022/957349.html และระดับหน่วยงานหลักที่ดูแลเรื่องการจัดการขยะมูลฝอย พื้นที่สีเขียว การจัดการของเสีย และพลังงาน ที่ศูนย์สิ่งแวดล้อม http://www.envcenter.dusit.ac.th/less/ มีหน้าที่ขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง

ด้วยสภาวการณ์และบริบททางสังคมที่พลิกผันเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ได้ส่งผลต่อการจัดการศึกษาในทุกระดับชั้นรวมถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จึงได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาจุดเน้นฉบับใหม่ พุทธศักราช 2563-2567 เพื่อกำหนดทิศทางและแนวทางอันคมชัดในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่มุ่งหวังที่สอดผสานกับแนวทางชีวิตวิถีใหม่ และมีจุดมุ่งเน้นเชิงกลยุทธ์ ในด้านสภาพแวดล้อม ด้าน Green & Clean University, Universal design มุ่งเน้นการจัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมพัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่สวยงาม สะอาด ปลอดภัยส่งเสริมการลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน http://www.dusit.ac.th/2021/882308.html มีระบบการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการขยะการบำบัดน้ำเสีย การลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในโครงการลดปริมาณการใช้พลาสติก http://www.dusit.ac.th/2021/870807.html รวมถึงการออกแบบพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับทุกคนในสังคมให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่และเท่าเทียมกัน

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จึงมีนโยบายการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พลังงานและทรัพยากร เพื่อมุ่งมั่นในการดูแลและรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม พลังงานและทรัพยากรของมหาวิทยาลัย เพื่อความยั่งยืนอันนำไปสู่สิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ภารกิจการวิจัย การปฏิบัติงานที่ปลอดภัยและรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งการจัดการขยะและของเสียอันตรายด้านการฝังกลบและรีไซเคิลการลดปริมาณขยะและการใช้พลาสติกการทิ้งขยะ (Single Use) โดยมุ่งเน้นการสร้างจิตสำนึก ให้ความรู้ ความเข้าใจ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักศึกษาและบุคลากรตามหลัก 3R การบำบัดน้ำเสีย อากาศ สารเคมีและมลพิษอื่น พลังงาน เพื่อบริหารจัดการ ปรับปรุง ป้องกัน และควบคุมมลพิษ อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้มาตรฐานที่กำหนด โดยการขยายสู่ผู้ขาย ผู้มารับบริการและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ในการลดของเสีย การรักษาพื้นที่สีเขียว การลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงนโยบายด้านอาหารมีการปฏิบัติในการขออนุญาตตามสถานที่ผลิตอาหารภายในมหาวิทยาลัยทั้ง 13 แห่ง ในการปฏิบัติตามกฎหมายสุขาภิบาลอาหาร ประกอบด้วยการพิจารณาแหล่งที่มาของอาหารเพื่อใช้ประกอบอาหารได้ถูกหลักสุขาภิบาลและการลดปริมาณของเสียจากการผลิตอาหารและนำไปสู่การนำกลับมาใช้ใหม่อย่างยั่งยืน

จากการดำเนินนโยบายดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างองค์กรนำร่องเชิงนิเวศด้วยการจัดการสีเขียว ด้าน Green & Clean University ทำให้ศูนย์วิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัล Green Office จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ปี 2561 ระดับทอง ศูนย์การศึกษาตรัง ได้รับรางวัล Green Office ระดับเงิน ปี 2562 และศูนย์การศึกษาลำปาง ได้รับรางวัล Green Office ระดับเงิน ปี 2563 http://www.envcenter.dusit.ac.th

ส่งผลให้มหาวิทยาลัยสวนดุสิตเป็นมหาวิทยาลัยที่ปฏิบัติตามนโยบายมหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ ซึ่งเป็นเกณฑ์สำคัญด้านสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกอาคารที่สถานศึกษาเป็นเขตปลอดบุหรี่ตามกฎหมายโดยมุ่งเน้นการสร้างจิตสำนึก ให้ความรู้ ความเข้าใจ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักศึกษาและบุคลากร และความน่าอยู่ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและการบำรุงรักษาทั้งภายในและภายนอกอาคาร รวมไปถึงการออกแบบพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับทุกคนในสังคมให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่และเท่าเทียมกัน

รวมไปถึงการกำหนดตัวชี้วัดความยั่งยืน โดยการกำหนดเป้าหมายและมีแนวปฏิบัติ เช่น การกำหนดกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การใช้ Car pool, การใช้รถขนส่งสาธารณะเป็นต้น เป็นการบริหารจัดการการใช้พลังงานโดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงให้น้อยลง รวมถึงการใช้ทรัพยากรน้ำและไฟฟ้าเพื่อลดการปลดปล่อนก๊าซเรือนกระจกที่มีการเก็บข้อมูลกำกับติดตามทุกเดือน

สร้างการมีส่วนร่วมในการทำความเข้าใจกับ Outsourced Services ได้แก่ แม่บ้าน, รปภ., ผู้รับจ้างทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ รวมถึง Supplier ต่างๆ ในการให้บริการที่มีความตระหนักแบบสีเขียวเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ให้บริการและรับบริการ และรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนอีกด้วย

สำหรับการติดตามปริมาณอัตราการเกิดขยะและปริมาณขยะรีไซเคิลสัดส่วนของขยะรีไซเคิล (ปริมาณขยะทั้งหมด/ปริมาณขยะรีไซเคิล/ปริมาณขยะที่นำไปฝังกลบ) ปี 2563 ซึ่งดำเนินการเก็บข้อมูลเป็นประจำทุกเดือน ของหน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยและศูนย์วิทยาศาสตร์ ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งสุพรรณบุรี ศูนย์ลำปาง ศูนย์นครนายก และศูนย์ตรัง มีปริมาณขยะที่เกิดขึ้นรวมทั้งหมดตั้งแต่เดือน มกราคม-ธันวาคม 2563 เท่ากับ 70,740.64 กิโลกรัม ปริมาณขยะรีไซเคิล เท่ากับ 47,442.22 กิโลกรัม ขยะที่นำไปฝังกลบ 23,298.42 กิโลกรัม สัดส่วนของขยะรีไซเคิลคิดเป็นร้อยละ 67.07 จากปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด

โดยในมหาวิทยาลัยมีปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมดตั้งแต่เดือน มกราคม-ธันวาคม 2563 เท่ากับ 27,538.34 กิโลกรัม ปริมาณขยะรีไซเคิล เท่ากับ 20,764.71 กิโลกรัม ขยะที่นำไปฝังกลบ 6,773.63  กิโลกรัม สัดส่วนของขยะรีไซเคิลคิดเป็นร้อยละ 75.40 จากปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด

ศูนย์วิทยาศาสตร์ มีปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมดตั้งแต่เดือน มกราคม-ธันวาคม 2563 เท่ากับ 25,408.50 กิโลกรัม   ปริมาณขยะรีไซเคิล เท่ากับ 12,777.90 กิโลกรัม ขยะที่นำไปฝังกลบ 12,630.60 กิโลกรัม สัดส่วนของขยะรีไซเคิลคิดเป็นร้อยละ 50.29 จากปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด

ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งสุพรรณบุรี มีปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมดตั้งแต่เดือน มกราคม-ธันวาคม 2563 เท่ากับ 5,456.33 กิโลกรัม ปริมาณขยะรีไซเคิล เท่ากับ 4,023.84 กิโลกรัม ขยะที่นำไปฝังกลบ 1,432.49 กิโลกรัม สัดส่วนของขยะรีไซเคิลคิดเป็นร้อยละ 73.75 จากปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด  

              

ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งนครนายก มีปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมดตั้งแต่เดือน มกราคม-ธันวาคม 2563 เท่ากับ 4,384.23 กิโลกรัม ปริมาณขยะรีไซเคิล เท่ากับ 3,521.22  กิโลกรัม ขยะที่นำไปฝังกลบ 863.01 กิโลกรัม สัดส่วนของขยะรีไซเคิลคิดเป็นร้อยละ 80.32 จากปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด

ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง มีปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมดตั้งแต่เดือน มกราคม-ธันวาคม 2563 เท่ากับ 5,276.09 กิโลกรัม ปริมาณขยะรีไซเคิล เท่ากับ 4,953.22 กิโลกรัมขยะที่นำไปฝังกลบ 322.87 กิโลกรัม  สัดส่วนของขยะรีไซเคิลคิดเป็นร้อยละ 93.88 จากปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด

ศูนย์ตรัง มีปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมดตั้งแต่เดือน มกราคม-ธันวาคม 2563 เท่ากับ 2,677.15 กิโลกรัม ปริมาณขยะรีไซเคิล เท่ากับ 1,401.33 กิโลกรัม ขยะที่นำไปฝังกลบ 1,275.82  กิโลกรัม  สัดส่วนของขยะรีไซเคิลคิดเป็นร้อยละ 52.34 จากปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด

โดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต มีการจัดทำรายงานสิ่งแวดล้อม พลังงานและทรัพยากรของมหาวิทยาลัย เป็นประจำทุกปี คือ รายงานการสิ่งแวดล้อม พลังงานและทรัพยากร ปี 2564

ที่มา: https://www.dusit.ac.th/2021/882308.html

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เข้ารับประกาศนียบัตรจากโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Less Emission Support Scheme: LESS) ในกิจกรรมการคัดแยกขยะรีไซเคิลของหน่วยงานต่างๆ 19 กิจกรรม และกิจกรรมการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ 1 กิจกรรม จากการดำเนินงานของ 18 หน่วยงาน ซึ่งสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้รวม 81.559 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยหน่วยงานที่เข้าร่วมพัฒนาโครงการ LESS ประกอบด้วย 1.กองกลาง สำนักงานมหาวิทยาลัย 2 .โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ 3. กองอาคารและสถานที่  4.สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ 5.สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนและกองนโยบายและแผน 6.โครงการอาหารกลางวัน1 7.ศูนย์บริหารกายเพื่อสุขภาพ 8.สวนดุสิตโฮมเบเกอรี่ 9.สวนดุสิตโพล 10.ลานกิจกรรมนักศึกษา ศูนย์วิทยาศาสตร์ 11.สำนักงานคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 12.สำนักงานคณะพยาบาลศาสตร์ 13.สำนักงานโรงเรียนการเรือน 14.สำนักงานอาคารบริการวิทยาศาสตร์ 15.ศูนย์เครื่องมือปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ 16.ศูนย์สิ่งแวดล้อม 17.มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี และ18.มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง

ที่มา: http://www.envcenter.dusit.ac.th/%e0%b8%a1-%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b8%b8%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%95-%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%a5%e0%b8%ab%e0%b8%99/

ที่มา: https://www.dusit.ac.th/2019/778198.html