ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มีการพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อให้สอดรับกับประเด็นยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) คือ เน้นคนเป็นศูนย์กลางและยึดเป้าหมายอนาคตของประเทศเป็นหลัก มีความรู้สอดรับกับทักษะในศตวรรษที่ 21 และรวมถึงแนวนโยบายการบริหารงานเพื่อพัฒนาจุดเน้นฉบับใหม่ พุทธศักราช 2563-2567 เพื่อกำหนดทิศทางและแนวทางอันคมชัดในการดำเนินงาน ของมหาวิทยาลัยให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ที่มุ่งหวังที่สอดผสานกับแนวทางชีวิตวิถีใหม่ และมีจุดมุ่งเน้นเชิงกลยุทธ์ ในด้านตามแนวทางนโยบายการจัดการเรียนการสอนตามความหลากหลายทางการศึกษา โดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต มีความเชี่ยวชาญและอัตลักษณ์ด้านการศึกษาปฐมวัน เพื่อสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษา จึงได้ใช้ความเชี่ยวชาญดังกล่าวในการชี้นำสังคมในการสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาและพัฒนาโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร โดยการทำวิจัยและการบริการวิชาการ โดยในปี 2563 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวดุสิต ได้ดำเนินการโครงการหนุนเสริม จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามประเมินการพัฒนาครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร โดยมีผลความสำเร็จของโครงการ คือ
1) โรงเรียนจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติจริง ภายใต้บริบทโรงเรียน เน้นแหล่งเรียนรู้สำคัญในการจัดการเรียนรู้ สามารถยกระดับพื้นฐานอาชีพได้ตามเป้าหมายการพัฒนาสถานศึกษาเป็นศูนย์บริการความรู้ สร้างความอยู่ดีมีสุขให้กับนักเรียนและคนในชุมชน เป็นแหล่งสร้างอาชีพของคนในพื้นที่ สามารถยกระดับคุณค่าทางสังคมให้สูงขึ้น สร้างค่านิยมการเคารพและเห็นคุณค่าของคนในชุมชน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สามารถพึ่งตนเองได้ โดยสร้างสภาวะทางการเงินให้อยู่ในสภาพสมดุล (Financial well-being)
2) ครูมีสมรรถนะในการสอนโดยใช้กิจกรรมตามบริบทของโรงเรียน และโครงการตามพระราชดำริเป็นฐานในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียน ดังนี้ (1) ครูสามารถจัดทำแผนการสอนที่มีการบูรณาการกับชีวิตและท้องถิ่น (2) ครูสามารถออกแบบการเรียนการสอน และสร้างแรงจูงใจให้กับนักเรียน (3) ครูมีทักษะในการจัดทำสื่อ และเลือกใช้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ และ (4) ครูมีทักษะในการวัดและประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนตามที่ได้ออกแบบอย่างมีประสิทธิภาพ รอบรู้ในเนื้อหา มีคุณลักษณะความเป็นครู สามารถสอนให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านคลังข้อมูลของชุมชนได้
3) ครูใหญ่มีวิสัยทัศน์ และมุมมองในการบริหารจัดการที่หลากหลายมิติ ดังนี้ (1) มีมุมมองต่อภาพลักษณ์ขององค์กรเปลี่ยนไปที่เอื้อต่อการพัฒนา (2) มีมุมมองการเรียนรู้ในมิติการเรียนรู้ตลอดชีวิต (3) มีความเข้าใจเป้าหมายของการเรียนรู้ถูกต้องว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทุกสถานที่ ห้องสี่เหลี่ยมไม่ใช่สถานที่เดียวสำหรับการเรียนรู้ และ
4) หลักสูตรปริญญาตรี (4 ปี) และหลักสูตร ป.บัณฑิต (สาขาวิชาชีพครู) รวมถึงกิจกรรมเสริมที่สอดคล้องกับบริบท สภาพและความต้องการของครู ตชด.และแผน กพด. ฉบับที่ 5 ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีการจัดกิจกรรมเสริมที่ไม่เพิ่มภาระงานและมีการพบกลุ่มอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดการพัฒนาครูโรงเรียน ตชด.อย่างเต็มประสิทธิภาพ นำไปสู่การเตรียมความพร้อมเพื่อสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูในอนาคตได้
โครงการนี้ สร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาของกลุ่มชาติในภาคใต้ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสันติราษฎร์ประชาบำรุง เป็นการนำเสนอความสนุกกับโรงเรียนฯ ซึ่งมีมานิ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ซาไก ซึ่งมีช่องว่างทั้งทางภาษาและวัฒนธรรม เกิดการบูรณาการฐานการเรียนรู้ ปัจจัย 4 เกิดเป็นกิจกรรม โรงเรียนหลามข้าว ได้แก่ ฐานอาหารที่มีการสอนการเรียนรู้เรื่องสมุนไพรที่เป็นเครื่องแกงในโรงเรียนและชุมชนของทั้งชาวไทยและของกลุ่มชาติพันธุ์ ได้ลงมือทำหลามข้าว เกิดการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนทุกชั้นตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษา ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ทั้งการสังเกต สัมผัส ดมกลิ่น ชิมรส พัฒนาไปสู่กระบวนการอ่านออกเขียนได้ การเรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิตบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง “มีความสุข สนุก เกิดทักษะการคิดและการแก้ปัญหา” ส่งผลให้เกิดการอ่านออกเขียนได้เพิ่มมากขึ้น ทำให้ชาวไทยใต้กับเพื่อเกลอกลุ่มชาติพันธุ์ได้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน สามารถลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำลงได้
รวมไปถึงกิจกรรมบูรณาการของวัฒนธรรมชนเผ่าลีซู ในภาคเหนือ ด้วยการเรียนรู้เครื่องดนตรี คือ ซืบือ (ซึง) และเครื่องแต่งกายซึ่งนักเรียน ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ได้คิด และได้ทำ โดย มีผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน จึงทำให้เกิดการลดช่องว่างระหว่างผู้ปกครองและโรงเรียน ทำให้นักเรียนได้ทักษะอาชีพและสนุกกับการเรียนรู้ เกิดสมรรถนะการเรียนรู้ ครูเกิดความสุขในการจัดการเรียนการสอน โดยการใช้ฐานอัตลักษณ์ในพื้นที่ชุมชน