พื้นที่สร้างสรรค์การเรียนรู้

การพัฒนาระบบการเรียนรู้และเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่สามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ทุกเวลา เป็นบริการพื้นที่การเรียนรู้ออนไลน์ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิตในรูปแบบ Smart Spaces รองรับการเรียนรู้ในยุค Disruption ที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาททำให้การเรียนรู้เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งยังเน้นการพัฒนาทักษะ Digital Literacy ของนักศึกษาเพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสวนดุสิต 5.0 และเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านเทคโนโลยดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ Smart Spaces จึงเป็นพื้นที่การเรียนรู้ออนไลน์ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดให้บริการทั้งในมหาวิทยาลัยผ่าน Café Library แบบ Co-Working Spaces โดยเน้นการให้บริการสืบค้นความรู้จากแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ สำหรับผู้ที่ต้องการใช้พื้นที่การเรียนรู้ออนไลน์ Smart Spaces จากภายนอกมหาวิทยาลัย สามารถใช้บริการผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยสวนดุสิตได้ ยกเว้นบริการฐานข้อมูลออนไลน์ และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) ต้องทำการ VPN ก่อน จึงจะสามารถเข้ามาสืบค้นฐานข้อมูลและอ่านหนังสือออนไลน์ได้

ภาพ Smart Spaces และ Smart Learning
ที่มา : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ร้าน Café Library

รศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวถึง ร้าน Café Library ไว้ว่า เดิม 10 ปีก่อน Café Library ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ตั้งขึ้นเป็นที่แรกในสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ห้องสมุดบริเวณชั้น 2 ชื่อ cafeteria แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมหรือยอมรับ เพราะคนส่วนใหญ่ยังยึดติดกับภาพห้องสมุดที่ต้องเงียบไว้อ่านหนังสือเท่านั้น จึงได้ให้นโยบายว่าควรจะเป็นสถานที่เรียนรู้ พูดคุย นัดพบเจอ เพื่อให้เกิดการสื่อสารกัน โดยสร้างบรรยากาศให้เป็นรูปแบบการจิบกาแฟ นั่งคุยกันไปจิบกาแฟและกินขนมอร่อย ๆ กันไปแบบผ่อนคลายไม่เครียด ดังนั้นจึงมอบนโยบายให้ทุกศูนย์การศึกษาลำปาง ตรัง สุพรรณบุรี นครนายก หัวหิน ให้สร้าง Café Library เพื่อรองรับในอนาคตด้วย โดยศูนย์การศึกษาลำปาง ได้สร้างเสร็จสมบูรณ์ ออกแบบสวยงาม จะเห็นได้ว่า ถึงแม้จะมี Café มากมายในมหาวิทยาลัย แต่ละ Café ก็มีจุดขายและจุดแข็งในแบบของตัวเอง เพราะผู้รับผิดชอบในการดูแลคนละหน่วยงาน ก่อให้เกิดความแตกต่างและมีรูปแบบไม่เหมือนกัน ผู้บริโภคสามารถเลือกได้ตามรสนิยมและความพึงพอใจ แต่ละแบรนด์พยายามทำของตัวเองออกมาให้ดีที่สุด ส่วนในอนาคตจะเกิด Café อีกหรือไม่ ให้เป็นเรื่องของอนาคต แต่การพัฒนาต่อยอดจะได้เห็นอย่างแน่นอน ดังนั้น ทุก ๆ  Café ที่สร้างขึ้นจะมีแนวคิดพื้นฐานมาจาก Café By Home ที่ได้ปรับปรุงสำนักงานอธิการบดีเก่าให้เป็น Café Library ในรูปใหม่ มีความทันสมัย ตกแต่งสไตล์โมเดิร์น มีโต๊ะเก้าอี้ ปลั๊กไฟ และอินเทอร์เน็ต Wi-Fi ไว้บริการ พร้อมจำหน่ายขนมเบเกอรี่ เครื่องดื่ม อาหาร ไอศกรีม ให้แก่บุคลากร นักศึกษา และบุคคลภายนอกที่ได้มีโอกาสมาเยือนมหาวิทยาลัยในราคามิตรภาพและย่อมเยา เพราะจุดประสงค์หลักไม่ได้แสวงหาผลกำไรในเชิงธุรกิจ เพียงแต่สร้างไว้เป็นสถานที่แลกเปลี่ยนความรู้ และสื่อสารกัน สำหรับ Café Library ซึ่งผู้ที่เข้ามาในสถาบันการศึกษาแห่งนี้สามารถเลือกใช้บริการได้ตามความพอใจ

ภาพ

ที่มา : วารสาร SDU TIme Special Report

http://www.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2019/04/SDU-Time-Line162_small.pdf

การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญในชีวิตมนุษย์ หากเราได้รู้จักพูดคุยกัน จะเกิดองค์ความรู้ใหม่ จึงตั้งใจสร้าง Café Library ไว้เป็นพื้นที่ในการช่วยกันคิด ช่วยกันทำ และเมื่อแนวคิดถูกแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ก็จะได้รับมุมมองในอีกมิติหนึ่ง จะทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ภายในพื้นที่ Café Library เน้นการให้บริการสืบค้นความรู้จากแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ และบริการอ่านหนังสือออนไลน์ (e-Book) ฟรี ผ่านบริการ Internet สำหรับบุคคลภายนอก เข้าถึงได้จาก SSID “DUSIT-CAFÉ” และสำหรับนักศึกษา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัย เข้าถึงได้จาก SSID “DUSIT-SECURE”

ภาพแสดงการใช้งาน Dusit Café สำหรับการสืบค้นแหล่งเรียนรู้ออนไลน์

ที่มา : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ภาพแสดงการใช้งาน Dusit Café สำหรับการสืบค้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

ที่มา : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ห้องสมุด SDU Library

ห้องสมุด เป็นแหล่งเรียนนรู้ที่มีหนังสือ ทรัพยากรสารสนเทศ ที่ให้บริการหลากหลาย ทั้งภายในมหาวิทยาลัย อาคารบัณฑิตวิทยาลัย อาคารวิทยาศาสตร์ วิทยาเขตสุพรรณบุรี และศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง รวมทั้งมีวารสารบอกรับ และวารสารอภินันทนาการ

ห้องสมุด SDU Library ภายในมหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ที่มา : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

พื้นที่การทำกิจกรรม Activity space

พื้นที่สร้างสรรค์ในการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิตออกแบบให้สอดคล้องกับเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ และความเชี่ยวชาญของพื้นที่ ซึ่งนักศึกษาสามารถเข้าใช้งานได้ตามอัธยาศัย ดังนี้

ที่มา : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

การให้บริการพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกับหน่วยงานภายนอก

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง และคณะผู้บริหารด้านการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง ศึกษาดูงานมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการจัดการศึกษา และพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาในความดูแล ร่วมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางในการพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้เพื่อบริการและส่งเสริมอาชีพ ยกระดับรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยมี ดร.ขวัญนภา สุขคร และคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ลำปาง ร่วมต้อนรับและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ที่มา : https://www.dusit.ac.th/2022/949386.html/nggallery/page/2

การบูรณาการรายวิชากับการจัดกิจกรรม ณ พื้นที่การเรียนรู้ร่วมกับหน่วยงานภายนอก

          ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่วมกับกลุ่มรุ้งอรุณและสำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ร่วมจัด “โครงการรู้ทันข่าวลวง” โดยบูรณาการการเรียนการสอนในรายวิชาความเข้าใจดิจิทัล และรายวิชาพลเมืองไทยและพลโลกที่ดี โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ขวัญนภา สุขคร ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้กล่าวเปิดโครงการ ณ Activity Space มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง วันที่ 31 ธันวาคม 2563

ที่มา : https://www.dusit.ac.th/2020/799056.html

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :

https://arit.dusit.ac.th/2019/

http://www.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2019/04/SDU-Time-Line162_small.pdf

https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/364575https://campus.campus-star.com/chillout/110517.html

https://www.dusit.ac.th/2022/949386.html/nggallery/page/2

https://www.dusit.ac.th/2020/799056.html