จากภูมิหลัง…สู่ภูมิอนาคต
กระบวนการเรียนรู้ท้องถิ่น ฐานความรู้เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
การศึกษาวิจัยเรื่อง “ลำปางศึกษา” (Lampang Study) เพื่อศึกษาค้นคว้าชุดองค์ความรู้จากภูมิปัญญา ปราชญ์ท้องถิ่น ความจำเพาะทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและทรัพยากรเก่าแก่ที่มีคุณค่าในทุกด้าน และทำการรวบรวมจัดเก็บข้อมูลความรู้ต่าง ๆ สังเคราะห์ข้อมูลความรู้ จัดกลุ่มข้อมูลความรู้หรือขอบเขตของความรู้ ตามกระบวนการทั้งหมดของการจัดการความรู้ ให้เกิดความชัดเจนและนำไปใช้งานได้ โดยระบบที่สะดวกสามารถเข้าถึงได้ง่ายและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเมืองลำปาง โดยกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยออกเป็น 5 วัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อจัดการความรู้ฐานภูมิสังคมวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง
2) เพื่อจัดทำคลังข้อมูล และห้องสมุดลำปางศึกษา (Library) 3) เพื่อจัดทำฐานข้อมูลบรรณานุกรมลำปางศึกษาและ สารานุกรม ชุด 5 ภูมิวัฒนธรรม ในรูปแบบ Open Data บนเว็บไซต์และ E-BOOK 4) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจ สังคมและทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมจากฐานชุดความรู้ 5 ภูมิวัฒนธรรมจากภูมิหลังสู่ภูมิอนาคต 5) เพื่อนำเสนอฉากทัศน์ชุดภาพอนาคตลำปาง วิสัยทัศน์ และข้อเสนอเชิงนโยบาย
การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR = Participatory Action Research) เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ถูกต้อง และมีความน่าเชื่อถือจึงได้กำหนดผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจะมีหลายรูปแบบ ได้แก่ การวิเคราะห์เอกสารจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Research) ทั้งโดยการสำรวจพื้นที่จริง การสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดเวทีประชาคม จัดกิจกรรมเวทีสาธารณะ (Lampang Public Forum) ประชุมเชิงปฏิบัติการ และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ลำปางศึกษารวมทั้งการระดมความคิดเห็นรูปแบบออนไลน์ Crowdsourcing ที่เป็น Contest และ Collaborative Communities มีกระบวนการสังเคราะห์ วิเคราะห์ และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยมีกระบวนการที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง กำหนดผู้ให้ข้อมูลสำคัญและกลุ่มเป้าหมายแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ ภาคประชาสังคม/เครือข่าย ภาคเอกชน (บุคคลธรรมดา/นิติบุคคล) โดยกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและ การเก็บรวบรวมข้อมูลออกเป็น 4 ขั้นตอนคือ
ขั้นตอน 1 ขั้นตอนการสร้างความรู้สึกการเป็นเจ้าของร่วมและกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในงานลำปางศึกษา โดยในขั้นตอนนี้ได้กำหนดกิจกรรมออกเป็น 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 การจัดเวทีประชาคมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างความรู้ความเข้าใจกระบวนการและกรอบการวิจัยลำปางศึกษา จำนวน 1 ครั้ง กลุ่มเป้าหมายทุกภาคส่วนใน 4 กลุ่ม และกิจกรรมที่ 2 จัดตั้งคณะทำงานและเครือข่ายลำปางศึกษา เพื่อจัดทำแผนและทิศทางในการสนับสนุนและขับเคลื่อนลำปางศึกษา จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และวางแผนร่วมกันจำนวน 3 ครั้ง
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนการจัดการความรู้เพื่อจัดทำแผนที่ความรู้เมืองลำปาง (Mapping Lampang) โดยการสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลบุคคล เครือข่าย แหล่งเรียนรู้ (Knowledge Sources Map) และสำรวจและรวบรวม จัดทำบรรณานุกรม เอกสาร งานวิชาการ บทความ หนังสือ งานวิจัยเกี่ยวกับลำปาง (Knowledge Asset Map) ในการดำเนินงานคณะผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานโดยประยุกต์กระบวนการจากการจัดทำแผนที่ความรู้ (Knowledge Map) โดยในขั้นตอนนี้ได้กำหนดกิจกรรมออกเป็น 5 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 จัดเวทีเพื่อกำหนดขอบเขตความรู้และจัดทำแผนที่ความรู้ ในรูปแบบ Knowledge Sources Map (บุคคล เครือข่าย แหล่งเรียนรู้) Knowledge Asset Map เอกสาร งานวิชาการ บทความ หนังสือ งานวิจัยเกี่ยวกับลำปางโดยใช้เครื่องมือในการศึกษาแบบ Snow Ball Technique จำนวน 1 ครั้ง กิจกรรมที่ 2จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อรวบรวมฐานข้อมูล 4 ฐานประกอบด้วย บุคคล เครือข่าย แหล่งเรียนรู้ และเอกสาร งานวิชาการ บทความ หนังสือ งานวิจัยเกี่ยวกับลำปาง จำนวน 2 ครั้ง กิจกรรมที่ 3 ลงพื้นที่สำรวจและรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมจากกิจกรรมที่ 2 ทั้ง 4 ฐานข้อมูล และกิจกรรมที่ 4จัดทำฐานข้อมูลบุคคล เครือข่าย แหล่งเรียนรู้ลำปางศึกษา และบรรณานุกรมลำปางศึกษา
ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนการจัดการความรู้เพื่อจัดทำแผนที่โครงสร้างความรู้ และฐานข้อมูลชุดความรู้
5 ภูมิวัฒนธรรม (Knowledge Structure Map) โดยในขั้นตอนนี้ได้กำหนดกิจกรรมออกเป็น 4 กิจกรรม ได้แก่กิจกรรมที่ 1 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5 ภูมิวัฒนธรรม จำนวน 2 ครั้ง กิจกรรมที่ 2 วิเคราะห์สังเคราะห์และจัดทำฐานข้อมูลชุดความรู้ 5 ภูมิวัฒนธรรม และสารานุกรมลำปางศึกษา กิจกรรมที่ 3 จัดทำแผนที่
การประยุกต์ใช้ความรู้ (Knowledge Application Map) กำหนดกลุ่มเป้าหมาย หน่วยงานที่นำไปใช้ รูปแบบการนำไปใช้ และการจัดทำสื่อต่าง ๆ เพื่อการเข้าถึงข้อมูลโดยจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมาย หน่วยงานที่นำไปใช้และรูปแบบการนำข้อมูลไปใช้ จำนวน 1 ครั้ง และกิจกรรมที่ 4 จัดทำระบบฐานข้อมูล Open Data และสื่อรูปแบบต่าง ๆ ในลักษณะ ทั้งในระบบฐานข้อมูล เว็บไซน์ และ E-BOOK
ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนการวิเคราะห์คุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจ มนุษย์และสังคม รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชื่อมโยงต่อเนื่องอดีต ปัจจุบันและอนาคต วิเคราะห์จากภูมิหลัง
สู่ภูมิอนาคตเพื่อกำหนดทิศทางพัฒนาเมืองบนฐานขององค์ความรู้ (Historical Future Study) นำไปใช้สำหรับ การวิเคราะห์ในเชิงอนาคตศึกษาเพื่อพัฒนาเป้าหมายหรือภาพอนาคตของเมือง โดยในขั้นตอนนี้ได้กำหนดกิจกรรมออกเป็น 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 การจัดกิจกรรมเวทีสาธารณะ (Lampang Public Forum)
3 ครั้ง ลำปางศึกษา (Lampang Study) จากภูมิหลังสู่ภูมิอนาคต เพื่อกำหนดทิศทางพัฒนาเมืองบนฐานขององค์ความรู้ (Historical Future Study) จำนวน 3 ครั้ง กิจกรรมที่ 2 วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณค่า มูลค่า ด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกิจกรรมที่ 3 วิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อสร้างฉากทัศน์ ชุดภาพอนาคตลำปางและสร้างวิสัยทัศน์และข้อเสนอเชิงนโยบาย
ซึ่งเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ต้องการผลผลิต (Output) คือ 1) ฐานข้อมูลบุคคล เครือข่าย แหล่งเรียนรู้ลำปางศึกษา และบรรณานุกรมลำปางศึกษา 2) Lampang Mapping แหล่งเรียนรู้ลำปางศึกษา และย่านสำคัญของเมือง และ 3) ระบบฐานข้อมูลลำปางศึกษาบนเว็บไซต์ และ E-BOOK และผลลัพธ์ (Outcome) คือระบบฐานข้อมูลกลางที่รวบรวมฐานข้อมูลด้านองค์ความรู้ บุคคล เครือข่าย แหล่งเรียนรู้ลำปางศึกษา และบรรณานุกรมลำปางศึกษาที่เป็นระบบฐานข้อมูลรูปแบบ Open Data ที่สามารถเข้าถึงง่ายสามารถนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลในการวางแผน ต่อยอด พัฒนาในด้านต่าง ๆ ของจังหวัด และประโยชน์ในการศึกษาวิจัยต่อยอด
ในเชิงวิชาการ รวมทั้งผลงานวิจัยดังกล่าวสามารถเกิดผลกระทบ (Impact) ที่เป็นรูปธรรมในการขับเคลื่อน
ทั้งในรูปแบบเครือข่ายลำปางศึกษาเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดลำปางบนฐานของภูมิทางสังคมวัฒนธรรม
ทุกภาคส่วนในจังหวัดลำปางเกิดความรู้สึกการเป็นเจ้าของร่วมในการบริหารจัดการภูมิทางสังคมวัฒนธรรมของตนเอง และเกิดกระบวนการเรียนรู้ภูมิทางสังคมวัฒนธรรมร่วมกันผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ในหลากหลายรูปแบบและเชื่อมโยงในทุกระดับ ทั้งระดับชุมชน จังหวัด ภาคและระดับประเทศ
ในการขับเคลื่อนงานวิจัยครั้งนี้ทีมวิจัยมีเป้าหมายในการทำงานบูรณาการกับนักวิจัยในพื้นที่
ทั้งนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยในจังหวัด นักวิจัยเชิงพื้นที่ในหน่วยงาน องค์กร เครือข่ายภาคประชาสังคมและชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัด รวมทั้งมีแผนในการสร้างทีมวิจัยในพื้นที่ครอบคลุมทุกชุมชน และขณะเดียวกันในการขับเคลื่อนงานวิจัยครั้งนี้เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในจังหวัดในการจัดการฐานความรู้ทุนทางสังคมวัฒนธรรมของตนเอง มีส่วนร่วมในการออกแบบระบบฐานข้อมูลเพื่อให้เหมาะสมกับบริบทและการนำไปใช้ในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ของจังหวัด ซึ่งระบบฐานข้อมูลที่ได้จากการวิจัยเป็นระบบฐานข้อมูลแบบเปิด (Open Data) ให้ความสำคัญกับการเข้าถึงข้อมูลที่ง่ายไม่ซับซ้อน ทุกองค์กรหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ เอกชน รวมทั้งภาคประชาสังคม สามารถเข้าถึงและนำไปใช้เป็นฐานในการพัฒนาและต่อยอดในงานด้านต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาจังหวัดแบบองค์รวมที่มาจากฐานข้อมูลชุดเดียวกันและเป็นฐานข้อมูลที่เกิดจากความต้องการใช้ที่เหมาะสมกับบริบทสอดคล้องกับศักยภาพที่แท้จริงที่มีอยู่ของพื้นที่
จากการดำเนินงาน 6 เดือนที่ผ่านมาผู้วิจัยได้สรุปผลการวิเคราะห์จากการสัมภาษณ์ ลงพื้นที่สำรวจและรวบรวมข้อมูล จัดเวทีเพื่อกำหนดขอบเขตความรู้ และจัดทำแผนที่ความรู้ ในรูปแบบ Knowledge Sources Mapและจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5 ภูมิวัฒนธรรม รวมทั้งการจัดกิจกรรมเวทีสาธารณะ (Lampang Public Forum) ลำปางศึกษา(Lampang Study) จากภูมิหลังสู่ภูมิอนาคต เพื่อกำหนดทิศทางพัฒนาเมืองบนฐานขององค์ความรู้ (Historical Future Study) ใน 2 ประเด็นดังนี้
- การวิเคราะห์ขอบเขตความรู้ฐานภูมิสังคมวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง 5 ภูมิวัฒนธรรม จากการวิเคราะห์ขอบเขตความรู้ 5 ภูมิวัฒนธรรม จังหวัดลำปางได้แบ่งขอบเขตของความรู้ 5 ภูมิวัฒนธรรมได้ดังนี้
ภูมิหลัง (local history) ขอบเขตความรู้ครอบคลุม 3 ประเด็นคือ ยุค และย่าน โดยรวบรวมประวัติศาสตร์ของเมืองในแต่ละยุคสมัย ตลอดจนเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองลำปางในแต่ละยุคสมัยว่า เมืองลำปางมีจุดกำเนิด และก้าวเดินมาอย่างไรในมิติทางประวัตศาสตร์ ลำปางเมืองประวัติศาสตร์ 1,300 ปี ความรุ่งเรืองแห่งยุคสมัยและพัฒนาการพัฒนาการและย่านเมืองสำคัญของลำปาง แบ่งขอบเขตความรู้ของภูมิหลังไว้ตามยุค
ภูมิเมือง (dynamic town) ขอบเขตความรู้ครอบคลุมพลวัตของเมืองในมิติต่างๆในช่วง100 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน
ภูมิวงศ์ (local intellectuals) ขอบเขตเนื้อหาครอบคลุมประเด็นพระเถราจารย์ปูยชนียบุคคลสำคัญของเมือง สกุลวงศ์เจ้าผู้ครองนครลำปาง บุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่มีบทบาทในการสร้างและพัฒนาเมืองลำปางในมิติต่าง ๆ
ภูมิธรรม (religious and traditional beliefs) ขอบเขตเนื้อหาครอบคลุมประเด็นศาสนา ความเชื่อ จารีตประเพณีพื้นถิ่นของเมืองลำปางที่ชาวบ้านยึดถือ ตระหนัก และใช้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ตลอดจนมีการรักษาสิ่งเหล่านี้ให้คงอยู่ในสังคมของเมืองลำปาง
ภูมิปัญญา (local wisdom) ขอบเขตเนื้อหาครอบคลุมประเด็นด้านวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม
ภูมิปัญญา หรือองค์ความรู้จากท้องถิ่นในสาขาด้านต่าง ๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยประชาชนในเมืองลำปาง
ยุคสมัยต่าง ๆ
2) วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำฐานข้อมูลบรรณานุกรมลำปางศึกษาและสารานุกรม
ชุด 5 ภูมิวัฒนธรรมในรูปแบบ Open Data บนเว็บไซต์และ E-BOOK จากการวิเคราะห์ข้อมูลได้จัดทำฐานข้อมูลทั้งหมด 5 ฐานข้อมูลประกอบด้วย
2.1) ฐานข้อมูลชุด 5 ภูมิวัฒนธรรม โดยวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลจัดทำเป็นรูปแบบ E-BOOK จำนวน 5 ชุด ประกอบด้วย ภูมิหลัง ภูมิเมือง ภูมิวงค์ ภูมิธรรม ภูมิปัญญา
2.2) ฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้ 5 ภูมิวัฒนธรรม 13 อำเภอ โดยวิเคราะห์มูลจากการสัมภาษณ์ จัดเวทีระดมความคิดเห็น ฐานข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องและลงพื้นที่สำรวจแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม และจัดทำ MAPING แหล่งเรียนรู้ 13 อำเภอ
2.3) ฐานข้อมูลบุคคลและเครือข่าย โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร สัมภาษณ์ เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อกำหนดของเขตของบุคคลทรงคุณค่าและมีบทบาทในการพัฒนาลำปาง และเครือข่ายภาครัฐ เอกชนและภาคประชาสังคมในจังหวัดลำปาง
2.4) ฐานข้อมูลจังหวัดลำปาง ประกอบด้วย แผนแม่บท 6 ด้านจังหวัดลำปาง แผนพัฒนาจังหวัดลำปาง ฉบับที่ 1-5 แผนพัฒนาอำเภอ 13 อำเภอ และข้อมูลสถิติจังหวัดลำปาง
2.5) ฐานข้อมูลบรรณานุกรมลำปาง ประกอบด้วย หนังสือ เอกสาร งานวิจัย บทความ งานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับลำปาง
และได้นำเสนอชุดข้อมูล 5 ภูมิวัฒนธรรมและฐานข้อมูลจังหวัดลำปางที่ได้จากการวิเคราะห์สังเคราะห์และในรูปแบบ Open Data บนเว็บไซต์และ E-BOOK ลำปางศึกษา
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
https://lampang.dusit.ac.th/lampanglearningcity/lampangstudy/