ศูนย์ขับเคลื่อนนวัตกรรมสู่การขับเคลื่อนงานด้านนวัตกรรมสุขภาพ

ศูนย์ขับเคลื่อนนวัตกรรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้ทำกิจกรรมบริการวิชาการโดยบูรณาการงานนิเทศศาสตร์และงานวิชาการด้านสุขภาพเพื่อขับเคลื่อนงานด้านนวัตกรรมสุขภาพ ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ต.หนองสาหร่าย อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี โดยมีการศึกษาสภาพปัญหาของประชาชนในตำบลหนองสาหร่าย มีปัญหาด้านสุขภาพด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเส้นเลือด โรคอ้วน จากการบริโภคนิยม รวมถึงโรคอื่น ๆ ที่มากับการประกอบอาชีพ เช่น โรคปวดในข้อ ปวดหลัง ปวดเข่า ปวดบ่าคอไหล่ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุที่มีจำนวน 509 คน เกือบครึ่งที่ป่วยเป็นโรคเหล่านี้ นอกจากนี้ในสถานการณ์ของโรคระบาดโควิด-19 ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หากได้รับเชื้อเป็นเหตุถึงกับเสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว ศูนย์ขับเคลื่อนนวัตกรรม จึงได้ให้บริการวิชาการและสร้างนวัตกรรม เพื่อที่ประชาชนในอำเภอพนมทวน จะได้นำสิ่งที่ได้ร่วมกันสร้างสรรค์นวัตกรรม และฝึกให้ อสม.เป็นนวัตกรสุขภาพ โดยทีมงานศูนย์ขับเคลื่อนนวัตกรรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ทั้งประธานศูนย์ขับเคลื่อนนวัตกรรม กรรมการ เจ้าหน้าที่ นักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์นวัตกรรมและผู้ประกอบการธุรกิจ กลุ่มวิชาชีพผู้ประกอบการธุรกิจสื่อและนิเทศศาสตร์สุขภาวะ คณะวิทยาการจัดการ พร้อมด้วย นายศิวโรฒ จิตนิยม ประธานสถาบันการเงินในชุมชน และอสม.ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี และ อสม.ผู้แทนจาก 9 หมู่บ้านเข้าร่วมประชุมผ่านระบบ Zoom Application เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ในระยะยาว โดยได้มีการจัดอบรมปฏิบัติการนวดตัวเองแก้โรคตรวจโครงสร้างร่างกายและออกกำลังกายฤๅษีดัดตนรักษาอาการเจ็บป่วย ในการสร้างนวัตกรสื่อสารสุขภาวะต้านโรค เพื่อให้ทุกคนมีความสุข สุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของตัวเองและชุมชน ซึ่งต้องเริ่มที่ผู้นำก่อน การออกแบบด้านการขับเคลื่อนสุขภาวะจึงเกิดขึ้น ด้วยการอบรมแบบปฏิบัติการด้านสุขภาวะ เพื่อสร้างนวัตกรสื่อสารสุขภาวะและนวัตกรรมให้กับ อสม.ของตำบลหนองสาหร่าย อย่างยั่งยืนต่อไป

http://www.dusit.ac.th/2021/916924.html

          โดยหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์นวัตกรรมและผู้ประกอบการธุรกิจ ได้ส่งเสริมให้นักศึกษาได้เป็นผู้ผลักดันการทำให้เกิดนวัตกรสื่อสารสุขภาวะต้นโรค และงานด้านนวัตกรรมสุขภาพให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้แก่ ผลงานเพลงของแพทย์แผนไทย ดร.อมรรัตน์ เรืองสกุล รับชมเพื่อต้านความดันกันได้เลยจ้าผลงานนวัตกรรมสื่อดนตรีกรรม ประเภท คำร้องและทำนอง แพทย์แผนไทย ดร.อมรรัตน์ เรืองสกุล ประธานศูนย์ขับเคลื่อนนวัตกรรม คณะวิทยาการจัดการ (MSci Innovation Drive Center) [MIDC] โดยมีนักศึกษาเป็นศิลปินและจัดทำเพลงดังกล่าว คือ นายนนทกร รักสันชาติ นักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์นวัตกรรมและผู้ประกอบการธุรกิจ เมื่อฟังเพลงแล้ว จะช่วยเลือกรับประทานอาหารได้ถูกต้องเพื่อช่วยต้านความดันโลหิตสูงกันจ้าเพลงต้านความดันสูง

จากผลการดำเนินการของศูนย์ขับเคลื่อนนวัตกรรม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ทำให้เกิดการขยายผลการให้บริการสู่จังหวัดกาญจนบุรี ในปี 2565 เพื่อให้เป็นต้นแบบของการการสร้างนวัตกรสื่อสารสุขภาวะต้านโรค และงานด้านนวัตกรรมสุขภาพให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และจัดทำเป็นหลักสูตรของ อสม. โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมสนับสนุนสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขต่อไป

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.dusit.ac.th/2021/916924.html