กรณีศึกษา โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

การผลิต “บัณฑิตพันธุ์ใหม่” เป็นโครงการที่มุ่งพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพสูงทั้งเชิงวิชาการและวิชาชีพที่ทันต่อความต้องการของการทำงานในอุตสาหกรรมใหม่สู่ New S- Curve รวมทั้งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รวมทั้งการพัฒนาบัณฑิตที่พร้อมใช้งาน โดยการเรียนรู้จากประสบการณ์การปฏิบัติในสภาพจริง (Experiential Learning) โดยใช้ระบบภาคีความร่วมมือกับสถานประกอบการหรือสถานที่ทำงานจริงในภาคอุตสาหกรรม รัฐ ประชาสังคม และชุมชนที่มีความพร้อมเพื่อต่อยอดการพัฒนาที่สนองตอบต่อความต้องการกำลังคนทำงาน ซึ่งเมื่อพิจารณาตามกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายใน 9 กลุ่ม ที่มีความสอดคล้องกับความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัย และหลักสูตรที่เปิดการเรียนการสอน ได้แก่ อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จากข้อมูลข้างต้น มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาบัณฑิตพันธุ์ใหม่ใน 2 มิติ คือ มิติที่ 1 การพัฒนาบัณฑิตพันธุ์ใหม่โดยการจัดการเรียนการสอนระบบปกติ ที่มีความร่วมมือกับสถานประกอบการสำหรับทุกหลักสูตรในมหาวิทยาลัยเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ควบคู่การปฏิบัติ และมิติที่ 2 คือ การส่งเสริมให้อาจารย์ได้พัฒนาคุณภาพกระบวนการเรียนการสอนสู่อาจารย์มืออาชีพด้วยการเข้าไปเรียนรู้การปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการร่วมกับผู้เรียน ปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้มีโครงการที่เข้าร่วมกับการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ เช่น การบริการที่เป็นเลิศสำหรับนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การออกแบบธุรกิจสุขภาพสำหรับการจัดการท่องเที่ยว การจัดงานบริการบนเที่ยวบินในรูปแบบปกติวิถีใหม่ เป็นต้น โดยมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 จนถึงปัจจุบัน

โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ประเภทประกาศนียบัตร (Non-Degree) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 3 หลักสูตร ดังนี้
              1. หลักสูตรศาสตร์และศิลป์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศชีวภาพกับธุรกิจลานกางเต็นท์สีเขียว
              2. หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรธุรกิจที่พักเพื่อรองรับการบริการเชิงสุขภาพ
              3. หลักสูตรบ่มเพาะผู้สอนภาษาแห่งอนาคต

ผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะ เพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปการอุดมศึกษาไทยประเภทประกาศนียบัตร (Non-Degree) กลุ่มอุตสาหกรรมการบริการ รุ่นที่ 2 ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย คือ ศิษย์เก่า ผู้สูงอายุ และเยาวชน  

– การอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมสู่งานบริการที่เป็นเลิศประเภทงานอาหารและเครื่องดื่ม” วัตถุประสงค์ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการบริการในงานจัดเลี้ยงโต๊ะอาหารทั้งในรูปแบบไทยและยุโรป  ตั้งแต่การพับผ้า Napkin ในรูปทรงต่าง ๆ ตลอดจนการเข้าเสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่มอย่างมืออาชีพ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องกุมาริกา ชั้น 3 โรงแรมสวนดุสิตเพลส มหาวิทยาลัยสวนดุสิต 

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.dusit.ac.th/home/2023/1118702.html

– การอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “ศิลปะการแต่งหน้า การทำผมแบบมืออาชีพ” เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการแต่งหน้า การใช้อุปกรณ์ และการเลือกสีที่เข้ากับลักษณะของแต่ละบุคคล รวมทั้งการจัดตกแต่งทรงผมอย่างมืออาชีพ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องกุมาริกา ชั้น 3 โรงแรมสวนดุสิตเพลส มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.dusit.ac.th/home/2023/1118941.html

หลักสูตรการออกแบบธุรกิจสุขภาพสำหรับการจัดการท่องเที่ยว (Wellness business designed for tourism)” รุ่นที่ 2 กับการดำเนินการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 1-2 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ณ พื้นที่จังหวัดอุดรธานี โดย ผศ.ดร.ไพริน เวชธัญญะกุล หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการและทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบกิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานจังหวัดอุดรธานี  

หลักสูตรศาสตร์และศิลป์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศชีวภาพกับธุรกิจลานกางเต็นท์สีเขียว (The Art and Science of  Bio Innovative Tourism and A Green Campground Business) ระหว่างเดือนธันวาคม 2565 – เดือนเมษายน 2566 โดยมีการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์และฝึกปฎิบัติกับผู้เชี่ยวชาญจากสถานประกอบสำหรับประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านศาสตร์และศิลป์การท่องเที่ยวเพื่อการออกแบบธุรกิจลานกางเต็นท์สีเขียว

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.dusit.ac.th/home/2023/1062040.html

โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ประเภทประกาศนียบัตร (Non-Degree) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ดำเนินการ 3 หลักสูตร ได้แก่
              1. หลักสูตรการออกแบบธุรกิจสุขภาพสำหรับการจัดการท่องเที่ยว (Wellness business designed for tourism)
              2. หลักสูตรการสร้างสมรรถนะทางด้านออกแบบเพื่อประยุกต์ต่อยอดอาชีพ
              3. หลักสูตรลดแต่เพิ่ม เติมเต็มลูกค้า (Lean the process, escalate customer delight)

ผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

– หลักสูตรการสร้างสมรรถนะด้านการออกแบบ CDCA รุ่นที่ 1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิตร่วมกับ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในรูปแบบ Onsite โมดูลที่ 6 ครั้งที่ 33 ในวันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม 2565 นำโดยอาจารย์วรรณิกา เกิดบาง อาจารย์ประจำโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ  สาขาวิชาออกแบบนิทรรศการและการจัดแสดง ได้นำนักศึกษาเข้าชมโครงการบ้านอัจฉริยะประหยัดพลังงาน ณ วิสาหกิจภูมิสมดุล อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเพิ่มองค์ความรู้ใหม่ด้านนวัตกรรมการประหยัดพลังงาน  ประยุกต์ใช้ในการต่อยอดอาชีพ โมดูลที่ 7 ครั้งที่ 34 ซึ่งในวันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม 2565 เป็นการเสวนา หัวข้อ “การสร้างแรงบันดาลใจสำหรับผู้ประกอบการณ์ SMEs OTOP Start Up” วิทยากรโดย คุณภาณุรัฐ แสงเทียน ผู้ก่อตั้งและนักออกแบบ แบรนด์ Ontime และ คุณพีรศักดิ์ ลิ้มพัฒนกุล นักออกแบบและเจ้าของแบรนด์ ชาร์โคล เพื่อสร้างแรงบันดาลใจแก่นักศึกษาในหลักสูตร CDCA รุ่นที่ 1 จำนวน 40 ท่าน กิจกรรมจัดขึ้น ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคาร ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.dusit.ac.th/home/2022/989955.html

– โครงการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตร (Non Degree) ลดแต่เพิ่ม เติมเต็มลูกค้า (Lean the process, escalate customer delight) [iCXM101]โครงการที่หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบริการลูกค้า รับมอบหมายจากสำนักงาน ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) จัดกิจกรรมให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการดิจิทัล และประชาชนผู้สนใจ เพื่อยกระดับและบูรณาการสมรรถนะ ของผู้เรียนทั้งด้านการบริการ การขาย ที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าและสมดุลความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ลดกระบวนการที่ไม่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจ แต่ยังสามารถเพิ่มความประทับใจและเติมเต็มประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่ลูกค้า ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของสถานประกอบการในเครือข่ายความร่วมมือ จากสมาคมการค้าธุรกิจศูนย์บริการทางโทรศัพท์ไทย (TCCTA) และ บริษัท ไนซ์ คอล จำกัด ในการพัฒนาบัณฑิตพันธุ์ใหม่ในอนาคต

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.dusit.ac.th/home/2022/1001363.html