การพัฒนารูปแบบการจัดการอาหารเพื่อส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัย
Food Management Model for promote nutrition and dental health of early childhood children
โครงการวิจัยการพัฒนารูปแบบการจัดการอาหารเพื่อส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัย เป็นการบูรณาการงานวิจัยและการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมในลักษณะของการบูรณาการความรู้และการทำงานร่วมกันของอาจารย์ผู้วิจัยสองสาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยและสาขาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ ในการนำองค์ความรู้ประสบการณ์ในศาสตร์ความเชี่ยวชาญสู่การส่งเสริมเด็กปฐมวัยพื้นที่เป้าหมายในด้านการจัดการอาหารและการพัฒนาเด็กปฐมวัย เกิดการบูรณาการความรู้และการทำงานแบบข้ามศาสตร์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดการความรู้ และออกแบบการจัดการผ่านการลงมือปฏิบัติอย่างเชื่อมโยงกันทั้งสองศาสตร์วิชา สอดคล้องกับจุดเน้นอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยในด้านการศึกษาปฐมวัยแบบพหุวิทยาการ และด้านอาหารบนรากฐานแห่งความเชี่ยวชาญ ด้วยการปฏิบัติอย่างประณีตอาจารย์ได้เรียนรู้การทำงานร่วมกัน และนำองค์ความรู้ใหม่ที่ได้มาพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นทางวิชาการ สู่การพัฒนาท้องถิ่น อันแสดงความเป็นตัวตนให้เป็นที่รับรู้ต่อ สาธารณชนและสะท้อนศักยภาพ เพื่อขยายผลความสําเร็จ สนับสนุนการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น
จุดเด่นของโครงการเป็นโครงการวิจัยที่เกิดจากความต้องการของพื้นที่และชุมชน โดยได้รับงบสนับสนุนจากภาคประชาสัมคมและทำงานในรูปแบบการบูรณาการเชื่อมโยงกับทุกภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนงานวิจัยร่วมกัน
1. หลักการและเหตุผล
“เด็กในวันนี้ คือ ผู้ใหญ่ในวันหน้า” เป็นคำกล่าวที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของ เด็กและเยาวชนที่ถือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า ที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ผู้ซึ่งมีบทบาทและหน้าที่ในการพัฒนาหรือบริหารประเทศต่อไปในอนาคต รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาเด็กให้ดีมีคุณภาพ เพราะถ้าเด็กดีมีคุณภาพ จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพ ชาติก็จะมั่นคงและเจริญก้าวหน้าตามไปด้วย ดังนั้น ทรัพยากรมนุษย์ของเป็นประเทศจะดีมีคุณภาพจึงต้องให้ความสำคัญกับเด็ก โดยความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องตั้งแต่สถาบันครอบครัว สถาบันทางการศึกษาและสถาบันทางสังคม การพัฒนาเด็กปฐมวัย จึงถือเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาคนรุ่นต่อไป และเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะนำไปสู่การเจริญเติบโตของประเทศในอนาคต
ช่วงปฐมวัย เป็นวัยเริ่มต้นของชีวิตเป็นช่วงวัยที่พัฒนาการด้านต่าง ๆ จะพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและเป็นรากฐานที่สำคัญของช่วงวัยต่อไป เด็กในวัยนี้จึงเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งของประเทศ หากเด็กปฐมวัยได้รับการดูแลที่ไม่เหมาะจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการและสุขภาพ จากการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทยโดยกรมอนามัย พบปัจจัยด้านสุขภาพ ได้แก่ การไม่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ด้านโภชนาการ เช่น การกินอาหารมื้อหลัก ด้านสภาพแวดล้อมและสังคมที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็ก ได้แก่ สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยและด้านพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็ก ได้แก่ การเล่นกับเด็กอย่างมีคุณภาพ มีอิทธิพลต่อพัฒนาการสมวัยของเด็กปฐมวัย การส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการดูแลด้านสุขภาพอย่างเหมาะสม จะสามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพและเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ ผู้มีหน้าที่ดูแลเด็กและทุกภาคส่วนของสังคม ที่ควรร่วมมือและมีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการ ทักษะและการเรียนรู้ที่เหมาะสม จนกระทั่งเด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ โดยการลงทุนเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเด็กปฐมวัย ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดและได้ผลตอบแทนกลับคืนมาในอนาคตถึง 7 เท่า (Heckman, 2012: 31-47) ดังนั้นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย ถือเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกันทางสังคม มีหน้าที่สำคัญในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ดูแลและปฏิบัติกับเด็กอย่างถูกวิธีเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาวะที่ดีและมีความปลอดภัย มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง มีความสุข ได้รับการฝึกฝนในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง มีความสมบูรณ์ทางด้านโภชนาการและมีสุขภาพฟันที่ดี ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ และครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง ได้รับการส่งเสริมให้สามารถทำงานและขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กปฐมวัย เรื่องอาหาร โภชนาการ และการดูแลสุขภาพฟันอย่างถูกต้องเหมาะสม
ดังนั้นผู้จัยจึงสนใจที่จะออกแบบและพัฒนารูปแบบเพื่อส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัยโดยใช้แนวคิดทางด้านการจัดบริการอาหารกลางวันสำหรับเด็กควบคู่กับการให้ความรู้ทางด้านอาหาร โภชนาการและการดูแลสุขภาพฟันของเด็กสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาเด็กเพื่อให้เกิดการพัฒนาและการดูแลเด็กปฐมวัยอย่างยั่งยืน
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการอาหารเพื่อส่งเสริมโภชนาและสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัย
2. เพื่อออกแบบสำรับอาหารตามหลักโภชนาการปลอดภัย สมวัยอิ่มสุข ด้วยวัสดุดิบของบริบทชุมชน
3. เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้สำหรับครู ผู้ปกครอง ผู้ประกอบอาหารในสถานศึกษา และผู้ปกระกอบการอาหารรอบสถานศึกษา ให้มีความรู้ตามมาตรฐานการจัดโภชนาการให้กับเด็กและการดูแลสุขภาพปากและฟันสำหรับเด็กปฐมวัย
4. เพื่อประเมินภาวะโภชนการและสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการดำเนินโครงการ
5. เพื่อพัฒนาพื้นที่แปลงผักปลอดภัยในสถานศึกษา
3. กรอบการวิจัย
4. ระเบียบวิธีวิจัย (research methodology)
โครงการวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodology Research) โดยวิธีการวิจัย
เชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และการอภิปรายกลุ่มย่อย (Small group discussion) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research, PAR) โดยเลือกอาสาสมัครจากสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทุกสังกัด บุคลากรทางการศึกษา เด็กปฐมวัย เป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรมในการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ดำเนินการวิจัยเพื่อค้นหาประเด็นปัญหา และหาแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการอาหารเพื่อส่งเสริมโภชนการและสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ หมายถึง หน่วยตัวอย่างทั้งหมดที่สนใจต้องการศึกษา หรือหาข้อมูลที่ผู้วิจัยเห็นว่าสามารถจะเป็นผู้ให้ข้อมูลได้ดีที่สุด และเป็นกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนารูปแบบการจัดการอาหาร
เพื่อส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัยโดยกำหนดผู้ให้ข้อมูลสำคัญไว้ 3 กลุ่มดังนี้
กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ นักการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการอาหาร
การส่งเสริมภาวะโภชนการ การส่งเสริมสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัย เช่น นักโภชนการ นักออกแบบอาหาร บุคลากรทางการแพทย์ด้านโภชนาการเด็ก ทันตแพทย์ ตัวแทนครูในสถานศึกษา ตัวแทนผู้ปกครองเด็ก
ตัวแทนผู้ประกอบอาหารของสถานศึกษาและตัวแทนหน่วยงานท้องถิ่น
กลุ่มที่ 2 กลุ่มบุคลาการทางการศึกษาในระดับปฐมวัย และผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับการบริการอาหารสำหรับเด็ก การส่งเสริมดูแลภาวะโภชนการและสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัย
กลุ่มที่ 3 กลุ่มองค์กรภาครัฐ เอกชนและภาคประชาสังคมที่มีส่วนในการสนับสนุนและผลักดันการส่งเสริมภาวะโภชนการและสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัย
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
– การวิจัยเชิงเอกสาร (documentary research) เป็นการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Documentary Data) วิเคราะห์บริบทและคุณลักษณะ รูปแบบการจัดการอาหารเพื่อส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัย และกิจกรรมรูปแบบต่าง ๆ ที่หลากหลาย จากเอกสารทางวิชาการงานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความ วารสาร หนังสือและสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจากสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ซึ่งเรียบเรียงข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับการวิจัยและนำเสนอในการดำเนินกิจกรรมในทุกขั้นตอนของการวิจัย
– เครื่องมือที่ไช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลตามกระบวนวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ในการเก็บข้อมูลภาคสนาม (Field Research) ประกอบด้วย
– การวิเคราะห์บริบท ปัญหาความต้องการเกี่ยวกับการจัดการอาหารเพื่อส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัยของสถานพัฒนาเด็กกลุ่มเป้าหมาย 10 แห่ง
– ลงพื้นที่ศึกษาบริบทและประเมินภาวะโภชนาการและสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัยก่อนการใช้รูปแบบการจัดการอาหร
– การจัดการความรู้และประชุมกลุ่มย่อยผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง ผู้ประกอบอาหารของสถานศึกษา
– ประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการด้านอาหารและโภชนาการในภาพรวมของจังหวัด
– พัฒนารูปแบบการจัดการอาหารเพื่อส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัยออกแบบสำรับอาหารตามหลักโภชนาการปลอดภัย สมวัยอิ่มสุข ด้วยวัสดุดิบของบริบทชุมชนและหาคุณภาพของรูปแบบโดยการประเมินความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ การประชุมวิพากษ์และการทดลองใช้ (Try Out)
– จัดกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้ตามมาตรฐานการจัดโภชนาการให้กับเด็กและการดูแลสุขภาพปากและฟันสำหรับเด็กปฐมวัยสำหรับครู ผู้ปกครอง ผู้ประกอบอาหารในสถานศึกษา และผู้ปกระกอบการอาหารรอบสถานศึกษา
ลงพื้นที่ศึกษาบริบทและประเมินภาวะโภชนาการและสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัยหลังการใช้รูปแบบการจัดการอาหร
เครื่องมือในรูปแบบกิจกรรมในการขับเคลื่อน ประกอบด้วย
– จัดกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้ตามมาตรฐานการจัดโภชนาการให้กับเด็กและการดูแลสุขภาพปากและฟันสำหรับเด็กปฐมวัยสำหรับครู ผู้ปกครอง ผู้ประกอบอาหารในสถานศึกษา และผู้ปกระกอบการอาหารรอบสถานศึกษา
– การจัดนิทรรศการเพื่อถ่ายทอดความรู้ สำหรับกลุ่มเครือข่ายและบุคคลที่สนใจการนำเสนองงานของกลุ่มพื้นที่เป้าหมาย การนำแสนอผลการพัฒนาโภชนาการและสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัย
จากการดำเนินงานที่ผ่านมาคณะผู้วิจัยได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้เริ่มตั้งแต่พัฒนารูปแบบการจัดการอาหารเพื่อส่งเสริมโภชนาและสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัย ออกแบบสำรับอาหารตามหลักโภชนาการปลอดภัย สมวัยอิ่มสุข ด้วยวัสดุดิบของบริบทชุมชน ส่งเสริมองค์ความรู้สำหรับครู ผู้ปกครอง ผู้ประกอบอาหารในสถานศึกษา และผู้ปกระกอบการอาหารรอบสถานศึกษา ให้มีความรู้ตามมาตรฐานการจัดโภชนาการให้กับเด็กและการดูแลสุขภาพปากและฟันสำหรับเด็กปฐมวัย ประเมินภาวะโภชนการและสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัยก่อนการดำเนินโครงการ รวมทั้งพัฒนาพื้นที่แปลงผักปลอดภัยในสถานศึกษา โดยสรุปผลการดำเนินงานดังนี้
ประเด็นที่ 1 บริบท ปัญหาความต้องการเกี่ยวกับการจัดการอาหารเพื่อส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัยของสถานพัฒนาเด็กกลุ่มเป้าหมาย 10 แห่ง
กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการครั้งนี้คัดเลือกจากร่วมมือของกลุ่มสมัชชาการศึกษาจังหวัดลำปางกับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ด้วยกระบวนการรับสมัคร การประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ของการดำเนินการวิจัย กิจกรรมที่ต้องร่วมดำเนิน การสัมภาษณ์เฉพาะกลุ่มและยืนยันการเข้าร่วมโครงการโดยความสมัครใจ ซึ่งสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาที่ได้รับการคัดเลือกจำนวน 10 พื้นที่ มีดังนี้
ลำดับที่ | สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย | สังกัด |
---|---|---|
1 | โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
2 | โรงเรียนวอแก้ววิทยา | องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ.) |
3 | โรงเรียนอนุบาลเกาะคา | สำนักงานการศึกษาข้นพื้นฐาน |
4 | โรงเรียนอนุบาลแจ้ห่ม | สำนักงานการศึกษาข้นพื้นฐาน |
5 | โรงเรียนบ้านทุ่งกล้วย | สำนักงานการศึกษาข้นพื้นฐาน |
6 | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลนาแก้ว | องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
7 | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลบ่อแฮ้ว | องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
8 | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลนาแส่ง | องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
9 | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแม่เลียง | องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
10 | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาไหม้ | องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
จากการศึกษาข้อมูลพื้นที่ด้านการจัดการอาหารและโภชนาการ สุขภาพฟันของเด็กปฐมวัยปัญหาความต้องการเกี่ยวกับการจัดการอาหารเพื่อส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัยของสถานพัฒนาทั้ง 10 พื้นที่สามารถสรุปได้ดังนี้
ด้านการจัดการอาหาร | ภาวะโภชนาการ/สุขภาพฟันของเด็กปฐมวัย |
---|---|
ด้านนโยบาย – การออกแบบสำรับอาหารของแต่ละพื้นที่ใช้แนวทางของการจัดการเมนูจาก Thai School Lunch และตำรับอาหารสำหรับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย อายุ 1-5 ปี ของกรมอนามัย หากแต่เป็นการประยุกต์ให้สอดคล้องกับวัตถุดิบในพื้นถิ่น และจัดไม่ครบตามสำรับที่กำหนด – บางพื้นที่ไม่มีการบริการ นมในช่วงเช้า (เด็กบางคนไม่ได้รับประทานอาหารมื้อเช้า) – ขาดการวางแผนหรือแนวทางการจัดการอาหารสำหรับเด็กกลุ่มแพ้อาหารเพื่อใช้อาหารเสริมและการทดแทนอาหารในสำรับอาหาร ด้านบุคลากร – ผู้ประกอบอาหาร ผู้สัมผัสอาหารโดยมากไม่ผ่านการอบรมผู้สัมผัสอาหาร ด้านสถานที่ – สถานที่จัดเตรียมอาหารและบริการอาหารบางพื้นที่ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐาน | ด้านนโยบาย – การวางแนวทางการจัดการหรือส่งเสริมเด็กที่มีภาวะเสี่ยง หรือการจัดทำทะเบียนและแนวทางเฝ้าระวังติดตาม ดูแลเด็กกลุ่มเสี่ยง – การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบ้านและโรงเรียน (การให้ความรู้ผู้ปกครอง) ด้านบุคลากร – สถานพัฒนาเด็กทำการบันทึกน้ำหนัก ส่วนสูงทุกเดือนแต่ขาดการวิเคราะห์ภาวการณ์เจริญเติบโตตามเกณฑ์ (เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ผอม เตี้ย อ้วน) – ผลการตรวจสุขภาพฟันของบางพื้นที่ไม่ได้จัดเก็บข้อมูลในพื้นที่ – ขาดการประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารเด็กอย่างต่อเนื่อง – ขาดการออกแบบกิจกรรมคู่ขนานเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขภาพฟันสำหรับภายในสถานพัฒนาเด็กและสำหรับผู้ปกครอง |
จากสภาพปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการจัดการอาหารเพื่อส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัยของสถานพัฒนาเด็กกลุ่มเป้าหมาย 10 แห่ง ทางคณะผู้วิจัยนำมาวิเคราะห์และวางแผนการพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการคู่ขนานกับเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้ของการวิจัย
ประเด็นที่ 2 ภาวะโภชนาการและสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัยก่อนการใช้รูปแบบการจัดการอาหารของเด็กปฐมวัยของสถานพัฒนาเด็กกลุ่มเป้าหมาย 10 แห่ง
สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาที่ได้รับการคัดเลือกจำนวน 10 พื้นที่ มีจำนวนเด็กปฐมวัยที่เป็นเป้าหมายสำคัญในการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัย จำนวน 671 คน ทางคณะผู้วิจัยดำเนินการประเมินภาวะโภชนาการและสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัยก่อนการใช้รูปแบบการจัดการอาหาร จำนวน 645 คน คิดเป็นร้อยละ 96.12 โดยผลการประเมินมีรายละเอียดดังนี้
จากการประเมินเด็กปฐมวัยกลุ่มเป้าหมายมีภาวะโภชนาการ (น้ำหนักส่วนสูงเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน) พบว่า
สมส่วน จำนวน 448 คน คิดเป็นร้อยละ 70
ค่อนข้างผอม จำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 11
ผอม จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 4
อ้วน จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 4
เริ่มอ้วน จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 3
ท้วม จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 5
ข้อมูลด้านการประเมินสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัย สรุปข้อมูลได้ตามตารางดังนี้
รายการ | จำนวน (คน) | ร้อยละ |
---|---|---|
ฟันปกติ | 124 | 49 |
ฟันผุ อุดได้ | 11 | 4.4 |
ฟันผุ อุดไม่ได้ | 17 | 6.8 |
ฟันผุ บางซี่อุดได้ บางซี่อุดไม่ได้ | 99 | 39 |
ถอน/ฟันน้ำนมไม่หลุด ฟันแท้ขึ้น | 2 | 0.8 |
รวม | 253 | 100 |
ข้อมูลด้านการประเมินสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัยได้รับการจัดเก็บไว้จำนวน 253 คน เนื่องจากทางสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยไม่ได้บันทึกข้อมูล การเก็บข้อมูลของส่วนงานทันตกรรมในพื้นที่ ทางคณะวิจัยได้นำวิเคราะห์และกำหนดแนวทางในการดำเนินงานจัดเก็บข้อมูลเพิ่มโดยประสานความร่วมมือไปยังส่วนงาน
ทันตกรรมในพื้นที่เพิ่มรวบรวมข้อมูลต่อไป
ประเด็นที่ 3 การจัดการความรู้และประชุมกลุ่มย่อยผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง ผู้ประกอบอาหารของสถานศึกษา
– วางแผนการดำเนินงานในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566
ประเด็นที่ 4 รูปแบบการจัดการอาหารเพื่อส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัยออกแบบสำรับอาหารตามหลักโภชนาการปลอดภัย สมวัยอิ่มสุข ด้วยวัสดุดิบของบริบทชุมชน
– วางแผนการดำเนินงานในเดือนตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ. 2566
ประเด็นที่ 5 สรุปผลการจัดกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้ตามมาตรฐานการจัดโภชนาการให้กับเด็กและการดูแลสุขภาพปากและฟันสำหรับเด็กปฐมวัยสำหรับครู ผู้ปกครอง ผู้ประกอบอาหารในสถานศึกษา และผู้ปกระกอบการอาหารรอบสถานศึกษา
– วางแผนการดำเนินงานในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566
ประเด็นที่ 5 สรุปผลการจัดกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้ตามมาตรฐานการจัดโภชนาการให้กับเด็กและการดูแลสุขภาพปากและฟันสำหรับเด็กปฐมวัยสำหรับครู ผู้ปกครอง ผู้ประกอบอาหารในสถานศึกษา และผู้ปกระกอบการอาหารรอบสถานศึกษา
คณะวิจัยได้ดำเนินการจัดอบรม หลักสูตรสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้สัมผัสอาหาร วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารครัวสวนดุสิต มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาลำปาง สำหรับผู้ประกอบอาหารในสถานศึกษา และผู้ปกระกอบการอาหารรอบสถานศึกษา โดยใช้นิยาม ผู้สัมผัสอาหาร หมายถึง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับอาหารตั้งแต่กระบวนการเตรียม ปรุงประกอบ จำหน่ายและเสิร์ฟอาหาร รวมถึงการล้างและเก็บภาชนะอุปกรณ์ โดยมีเข้ารับการอบรมทั้งสิ้น จำนวน 70 คน เพื่อรับความรู้ เรื่อง หลักการและมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบกิจการด้านอาหาร สุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้สัมผัสอาหารกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สัมผัสอาหาร การสาธิตและฝึกปฏิบัติ เมื่อเสร็จสิ้นการฝึกอบรม ผู้เข้ารับการอบรมต้องผ่านการทดสอบความรู้เพื่อรับวุฒิบัตรต่อไป
ประเด็นที่ 6 การจัดนิทรรศการเพื่อถ่ายทอดความรู้ สำหรับกลุ่มเครือข่ายและบุคคลที่สนใจการนำเสนองงานของกลุ่มพื้นที่เป้าหมาย การนำแสนอผลการพัฒนาโภชนาการและสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัย
– กำหนดการจัดการจัดนิทรรศการเพื่อถ่ายทอดความรู้ สำหรับกลุ่มเครือข่ายและบุคคลที่สนใจการนำเสนองงานของกลุ่มพื้นที่เป้าหมาย การนำแสนอผลการพัฒนาโภชนาการและสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัย กำหนดจัดในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567
– ในวันศุกร์ ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2566 เครือข่ายสมัชชาการศึกษานครลำปางได้จัดกิจกรรม “อนาคตเด็ก อนาคตลำปาง” ครั้งที่ 3 ณ ลานชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา ลำปาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากลไกและความร่วมมือในการพัฒนาเด็กปฐมวัย 2) ส่งเสริมพัฒนาการ และศักยภาพเด็กปฐมวัยจังหวัดลำปาง และ 3) พัฒนาครูและผู้ดูแลเด็กให้มีสมรรถนะที่จำเป็น โดยมุ่งให้เกิดกระบวนการที่เหมาะสมกับทรัพยากร สังคม และวัฒนธรรมในพื้นที่
ในการนี้โครงการ “การพัฒนารูปแบบการจัดการอาหารเพื่อส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัย” ได้รับเชิญเข้าร่วมจัดนิทรรศการเพื่อขยายองค์ความรู้และข้อมูลในการพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยในนิทรรศการได้นำเสนอตัวอย่างสำรับอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย และกิจกรรมการประเมินน้ำหนักและภาวะมวลร่างกาย
จากการดำเนินการดังกล่าวนอกจากการดำเนินงานที่ตอบวัตถุประสงค์แล้วการออกแบบกระบวนการทำงานส่งผลต่อการพัฒนางานในมิติต่างๆในพื้นที่ใน 3 ประเด็นหลักๆคือ
ประเด็นที่ 1 ความเข้มแข็งของเครือข่ายในการขับเคลื่อนและพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน
ประเด็นที่ 2 เกิดกระบวนการสนับสนุนและพัฒนาเด็กเล็ก บุคลากรทางการศึกษาและนักศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่เป็นรูปธรรมนำเป็นต้นแบบในการพัฒนาในพื้นที่อื่นๆ
ประเด็นที่ 3 เป็นกระบวนการพัฒนาที่ตอบเป้าหมายความยั่งยืนของพื้นที่และชุมชน
ดังนั้น การพัฒนารูปแบบการจัดการอาหารเพื่อส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพฟันของเด็กปฐมวัย หัวหน้าโครงการวิจัย : ดร.ขวัญนภา สุขคร สนับสนุนโดย : สมัชชาการศึกษานครลำปาง สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ทั้งหมด 4 เป้าหมาย คือ
1. SDG 3: การบริการด้านสุขภาพและการดูแลสุขภาวะที่ดีให้แก่นักศึกษา รวมถึง ชุมชนท้องถิ่น (Good Health and Well-being) มี 3 ตัวชี้วัด คือ 1) ด้านการวิจัย 2) จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาด้านสุขภาพ และ 3) ความร่วมมือและบริการด้านสุขภาพ
2. SDG 10: การสนับสนุนดูแลนักศึกษาและเจ้าหน้าที่จากกลุ่มผู้ด้อยโอกาสเพื่อลด ความเหลื่อมล้ำ (Reduced Inequalities) มี 6 ตัวชี้วัด คือ 1) ด้านการวิจัย 2) สัดส่วนนักศึกษาคนแรกของครอบครัวที่ได้เรียน 3) สัดส่วนนักศึกษาจากประเทศกำลังพัฒนา 4) สัดส่วนนักศึกษาพิการ 5) สัดส่วนบุคลากรที่พิการ และ
6) มาตรการต่อการเลือกปฏิบัติ
3. SDG 12: การสรรหาแหล่งอาหารและสิ่งอุปโภคบริโภค และการจัดการขยะ และการลดการใช้ทรัพยากร (Responsible Consumption and Production) มี 4 ตัวชี้วัด คือ 1) ด้านการวิจัย 2) การติดตามการดำเนินการ 3) สัดส่วนของขยะรีไซเคิล และ4) การรายงานเกี่ยวกับความยั่งยืน
4. SDG 17: การมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อนงาน SDGs ระดับชาติ และระดับนานาชาติ (PARTNERSHIP FOR THE GOALS) เป็นตัวชี้วัดบังคับที่ต้องส่ง (Mandatory for inclusion in overall Impact Rankings) มีตัวชี้วัด 4 ด้าน คือ 1) ด้านการวิจัย 2) ความเชื่อมโยงที่ส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3) การเผยแพร่รายงาน SDGs และ 4) การเรียนการสอนเกี่ยวกับ SDGs