การสร้างสรรค์พื้นที่การเรียนรู้ One World Library to University

การสร้างสรรค์พื้นที่การเรียนรู้ต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยถือเป็นนโยบายของมหาวิทยาลัยที่ต้องการให้มีนักศึกษา บุคลากร รวมถึงบุคคลภายนอกได้ใช้ทุกพื้นที่อย่างคุ้มค่า โดยในปี 2565 ตามแนวคิด “One World Library” ที่เป็นห้องสมุดที่มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายรูปแบบบูรณาการร่วมกันบนพื้นที่ต่อเนื่อง เชื่อมโยงในรูปแบบต่างๆทั้ง Online Learning room Hybrid Learning Environment Design for Learning and Service จากแนวคิดดังกล่าวได้ถูกต่อยอดความสำเร็จให้เกิดขึ้นในปี 2567 สู่การเป็น “One World Library to University” ที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สมบูรณ์แบบบนมาตรฐานความเข็มแข็งทางวิชาการของตนเอง ภายใต้แนวคิดที่ว่า “ทุกพื้นที่ของสวนดุสิตคือแหล่งเรียนรู้”

One World Library to The University

จากการสร้างสรรค์พื้นที่การเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจเดียวกันของคนในองค์กร มหาวิทยาลัยได้มีการจัดกิจกรรม อาทิ กิจกรรม One World Library to University โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต บรรยายเรื่อง One World Library ดร.กมลกนก เกียรติศักดิ์ชัย ที่ปรึกษาอธิการบดี บรรยายเรื่อง One World Library – Widening and Deepening และ รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานที่ปรึกษาอธิการบดี บรรยายสรุปเรื่องการเชื่อมโยงพื้นที่การเรียนรู้สู่ The University โดยมีผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากรจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุม ลำพอง 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วันจันทร์ที่ 23 มกราคม 2566 กิจกรรมจิบกาแฟกับท่านอธิการบดี เรื่อง OWL To University โดย รศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต วันที่ 15 มีนาคม 2566 กิจกรรมคุยสบายๆ สไตล์สวนดุสิต เรื่องโหมโรง One World เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 กิจกรรมการลงพื้นที่เพื่อประชุมแผนการดำเนินงาน One World Library ณ ห้องโถงกลาง ชั้น 2 อาคาร SDU Library และเยี่ยมชมแนะนำสถานที่ภายในทั่ววิทยาเขตสุพรรณบุรี ในวันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี กิจกรรมการลงพื้นที่เพื่อสำรวจแหล่งการเรียนรู้ OWL (One World Library) ด้านเครือข่ายเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยมีผู้บริหารและบุคลากรศูนย์การศึกษา นครนายก วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้น

ศูนย์การศึกษาลำปางได้พัฒนานวัตกรรมการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนภายใต้แนวคิดมหาวิทยาลัยจิ๋วแต่แจ๋ว (Small but Smart) เพื่อให้เกิดพื้นที่การเรียนรู้และเป็น Platform กลางการเรียนรู้ของเมือง (Lampang Learning Space) ในการบริหารวิชาการบนความเชี่ยวชาญ เพื่อพัฒนาท้องถิ่น ทุกระดับครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สนับสนุนงานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนที่ตอบโจทย์ทุกมิติของการพัฒนา สร้างเครือข่ายการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้เพื่อพื้นที่และชุมชนในทุกมิติ เกิดโมเดลการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนจากฐานวิจัยเพื่อพัฒนาที่นำไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายและฉากทัศน์การพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนครอบคลุมประเด็นการพัฒนาเกิดกระบวนการต่อยอดพัฒนาในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นพื้นที่ต้นแบบขยายผลสู่พื้นที่อื่นอย่างเป็นรูปธรรม โดยแนวคิดของระบบนิเวศการเรียนรู้จะถูกการขยายผลไปทุกพื้นที่การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาลำปาง

ทรัพยากรสนับสนุนการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมีการดำเนินงานสนับสนุนความพร้อมทางกายภาพด้านห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศ ห้อง Online Learning ห้อง Virtual Learning และห้อง Hybrid Learning รวมถึงการใช้งานฐานข้อมูลออนไลน์ ห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ รวมทั้งมีการเปิดพื้นที่ให้บริการ Cafe Library จำนวน 13 แห่ง เน้นการให้บริการสืบค้นความรู้จากแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ และบริการอ่านหนังสือออนไลน์ (e-Book) ฟรีมีบริการของ Microsoft office 365 สำหรับภาคการศึกษา คือบริการ Software ผ่านบริการ Cloud Computing ของ Microsoft ระบบ WBSC: Work-Based Blended Learning and Technological Scaffolding เป็นระบบการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based Education) โดยผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

รายการอ้างอิง
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. (2566). รายงานการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report: SAR). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.