การจัดการศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

มหาวิทยาลัยสวนดุสิตปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรและความเข้มแข็งด้านวิชาการที่ท้าทายและแตกต่างอย่างโดดเด่นบนพื้นฐานความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัย โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างผู้เรียน เน้นการลงมือปฏิบัติงานจริง เพื่อให้สามารถสร้างองค์ความรู้ทักษะที่จำเป็นและทักษะใหม่ที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะ และสอดรับกับ ชีวิตวิถีใหม่ นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนการเรียนรู้ ตลอดจนส่งเสริมการเรียนรู้ตลอลชีวิตเพื่อพัฒนาคนทุกช่วงวัย ซึ่งมหาวิทยาลัยได้มีการออกเป็นข้อบังคับมหาวิทยาลัยสวนดุุสิต ว่าด้วย คลังหน่วยกิตเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต พ.ศ. 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกิด การเรียนรู้และเพื่อพูความรู้ความเชี่ยวชาญได้ตามถนัด โดยเป็นการเข้าศึกษาในรายวิชา หรือหลักสูตรฝึกอบรมซึ่งสามารถสะสมผลการเรียนหรือผลลัพธ์การเรียนรู้ได้ในระบบคลังหน่วยกิต

เพื่อให้เป็นแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเพื่อมุ่งไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นในมาตรฐานและคุณภาพทางวิชาการ สอดรับวิถีใหม่ในยุคดิจิทัลและยุค New Normal ซึ่งผู้ เรียน /ผู้เข้าอบรมสามารถนําไปต่อยอดการศึกษา การปรับใช้ในอาชีพหรือเสริมสร้างอาชีพใหม่ได้ต่อไป

การเรียนรู้พร้อมกับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสใหบุคคลภายนอกได้เข้าร่วมศึกษากับนักศึกษาปริญญาเอก โดยบุคคลภายนอกที่สนใจเข้าร่วมศึกษาในหัวข้อที่เปิดสอน สามารถชำระค่าลงทะเบียนเพื่อเข้าศึกษาในหัวข้อที่สนใจได้โดยสามารถเก็บจำนวนชั่วโมง ในการเรียนเพื่อเทียบโอนเข้าศึกษาต่อได้ต่อไป

เรียนรู้พร้อมกับนักศึกษาระดับปริญญาเอก เรื่อง “เริ่มต้นทำธุรกิจด้วยวิธิคิดแบบ CEO” รายวิชาอัจฉริยะทางอารมณ์และภาษากาย โดย รศ.ดร.สุขุม เฉลัยทรัพย์ ประธานที่ปรึกษาอธิการบดี และประธานหลักสูตรศึกษาศาสตร์ ดุุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการศึกษา ดร.พรชณิตว์ แก้วเนตร รองอธิิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศและลูกค้าสัมพันธ์ บรรยายเรื่อง “วิธิคิดแบบ CEO” และได้รับเกียรติจาก ดร.บุญเกียรติ โชควัฒนา ประธานกรรมการบริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด (มหาชน) บรรยายเรื่อง “เริ่มต้นทำธุรกิจด้วยวิธิคิดแบบ CEO” ณ ห้องประชุมสำนักงานมหาวิทยาลัย ชั้น 5 และออนไลน์ผ่านระบบ Zoom วันที่ 5 พฤศจิกายน 2565

เรียนรู้พร้อมกับนักศึกษาระดับปริญญาเอก เรื่อง “เสริมสร้างคุณสมบัติผู้นำในอนาคต” รายวิชาจิตวิทยาพัฒนาภาวะผู้นำ โดย ผศ.ดร.วีณัฐ สกุลหอม คณบดีคณะครุศาสตร์ และ ผศ.อัษฎา พลอยโสภณ รองคณบดีคณะครุศาสตร์ และได้รับเกียรติจาก ดร.สิทธิพล วิบูลย์ธนากุล รองประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาวิเคราะห์ทบทวนกฎหมายกฎระเบียบเพื่อลดอุปสรรคและส่งเสริมโอกาสในการพัฒนาของภาคธุรกิจในประเทศไทย คณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจสภาผู้แทนราษฎร ณ ห้องประชุมสำนักงานมหาวิทยาลััย ชั้น 5 และออนไลน์ผ่านระบบ Zoom วันที่ 9 ตุลาคม 2565

เรียนรู้พร้อมกับนักศึกษาระดับปริญญาโท เรื่อง “เขียนอะไรดี: จากเรื่องราวสู่งานเขียน” รายวิชาการเขียนเพื่อการสื่อสารทางวิชาการ โดย ผศ.ดร.ศุภศิริ บุญประเวศ ประธานสาขาวิชาภาษาและการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.สิระ สมนาม หัวหน้าภาควิชาหลักสูตรการสอนและการเรียนรู้คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผ่านระบบออนไลน์ Zoom วันที่ 6 พฤษภาคม 2566

เรียนรู้พร้อมกับนักศึกษาระดับปริญญาโท เรื่อง “เขียนอะไรดี: จากเรื่องราวสู่งานเขียน” รายวิชาการเขียนเพื่อการสื่อสารทางวิชาการ โดย ผศ.ดร.ศุภศิริ บุญประเวศ ประธานสาขาวิชาภาษาและการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.สิระ สมนาม หัวหน้าภาควิชาหลักสูตรการสอนและการเรียนรู้คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผ่านระบบออนไลน์ Zoom วันที่ 6 พฤษภาคม 2566

การอบรมระยะสั้น เป็นการพัฒนาหลักสูตรอบรมระยะสั้นในรูปแบบระบบคลังหน่วยกิต (Credit bank system) มหาวิทยาลัยปรับแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรที่ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะการศึกษาในระบบเท่านั้น แต่มีการขยายฐานผู้เข้าศึกษาไปยังกลุ่มอื่น ๆ เช่น กลุ่มคนวัยทำงานที่ต้องการ Up-skill หรือ Re-skill โดยส่งเสริมให้คณะ/โรงเรียน หรือหน่วยงานต่าง ๆ พัฒนาหลักสูตรในรูปแบบ Non-degree เพื่อเชื่อมโยงกับระบบคลังหน่วยกิตเพื่อตอบสนองตามความต้องการของคนทุกช่วงวัย โดยมีหลักสูตรที่ได้รับทุนและการอนุมัติจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดุมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) หลักสูตรที่ได้เป็นความร่วมมือกับกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ รวททั้งหลักสูตรอื่น ๆ ของมหาวิทยาลัย

โครงการผลิตบัณฑิตพันธ์ใหม่ สป.อว. จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรธุรกิจที่พักเพื่อรองรับการบริการเชิงสุขภาพ หลักสูตรบ่มเพาะผู้สอนภาษาแห่งอนาคต และหลักสูตรศิลป์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศชีวภาพกับธุรกิจลานกางเต็นท์สีเขียว

หลักสูตรบัตเลอร์ โดย “การอบรมเชิงปฏิบัติการบัตเลอร์มืออาชีพ” และ “การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรต่อยอดองค์ความรู้บัตเลอร์ เพื่อยกระดับสมรรถนะ” เป็นความร่วมมือโดยสาขาวิชาธุรกิจการบิน โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการมหาวิทยาลััยสวนดุสิต ร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

หลักสูตรต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยในการอบรมให้ความรู้ ทั้งเสียค่าใช้จ่ายและไม่เสียค่าใช้จ่ายในการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะของตนเอง

รายการอ้างอิง
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. (2566). รายงานการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report: SAR). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.