โครงการเมืองต้นแบบเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ

โครงการเมืองต้นแบบเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยสวนดุุสิต หรือ หอมขจร เริ่มต้นจากการดำเนินงานวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่ ณ จังหวัดสุพรรณบุรี อันเป็นพื้นที่ให้บริการของมหาวิิทยาลัยสวนดุุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี โดยความร่วมมือของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์และข้าวปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ตลอดห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่ระยะต้นกล้า กลางนา และปลายนา ทำให้เกิดเป็นเครือข่ายความร่วมมือที่มีความเข้มแข็งระหว่างมหาวิิทยาลััยกับกลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครััฐและเอกชนในพื้นที่ ตลอดจนเกิดเป็นองค์ความรู้นวัตกรรมเทคโนโลยีและกระบวนการใหม่ ๆ ด้านการผลิตข้าวปลอดภัยแบบครบวงจรที่มีคุณค่า สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลง และยกระดับรายได้ตลอดจนคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในชุมชนได้อย่างแท้จริง

“หอมขจรฟาร์ม” แปลงสาธิตเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะสร้างผลตอบแทนที่เป็นธรรมให้ชุมชนและพื้นที่อย่างยั่งยืน

โครงการ “การพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ยกระดับสินค้าเกษตรปลอดภัย จังหวัดสุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) สร้างมูลค่าและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกษตรปลอดภัยกลุ่มเกษตรและวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี โดยกระบวนการพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องสำอางจากผลผลิตเกษตรปลอดภัย (2) ยกระดับรายได้กลุ่มเกษตรและวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ จังหวัดสุพรรณบุรี

โดยกระบวนการพัฒนาองค์ความรู้นวัตกรรม และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการจัดการตลาด สินค้าเกษตรปลอดภัยซึ่งองค์ความรู้ นวัตกรรมและกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว จะเป็นต้นแบบในการขยายผลสู่การผลิต การเพิ่มมูลค่า และการสร้างช่องทางการตลาด เพื่อยกระดับรายได้และกระจายผลตอบแทนที่เป็นธรรมแก่เกษตรและวิสาหกิจชุมชนตลอดช่วงโซ่การผลิตสินค้าปลอดภัยในจังหวัดสุพรรณบุรี ตามเป้าประสงค์ของจังหวัดสุพรรณบุรีในการเป็น “เมืองเกษตรกรรมยั่งยืน เศรษฐกิจเข็มแข็ง คุณภาพชีวิตสังคมมีสุข

กิจกรรมอบรมภาคปฏิบัติการเรื่อง “การปลูกผักสลัดแบบยกแคร่ในโรงเรือน” ในวันอังคารที่ 25 กรกฏาคม 2566 เวลา 08.30 – 10.00 น. ณ โรงเรือนหอมขจรฟาร์ม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการปลูกผักสลัดในโรงเรือนตามแนงทางเกษตรปลอดภัยให้แก่สมาชิกโครงการ “การพัฒนากลุ่มเครือข่ายเกษตรปลอดภัยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน รุ่นที่ 1” พร้อมกับครูและนักเรียน จากโรงเรียนวัดโคกโคเฒ่า ต.โคกโคเฒ่า อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี โดยเน้นให้ผู้เข้าอบรมได้ปฏิบัติด้วยตนเองในขั้นตอนต่างๆ เช่นการย้ายต้นกล้า ผักสลัด คอส เร้ดโอ๊ค กรีนโอ๊ค การดูแลรักษาและการกำจัดวัชพืนในแปลงปลูกเป็นต้น

รายการอ้างอิง
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. (2566). รายงานการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report: SAR). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.