ด้วยการเป็นมหาวิทยาลัยด้านอาหารที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้าง มหาวิทยาลัยสวนดุสิตจึงขับเคลื่อนต่อยอดการดำเนินการด้านอาหารอย่างต่อเนื่องต่อไปเพื่อขยายห่วงโซ่อุปทานสู่กระบวนการผลิตอาหารปลอดภัยและยั่งยืนเพื่อสังคมอย่างแท้จริง จึงได้มีนโยบายขยายต่อยอดการผลิตอาหารมายังกระบวนการต้นน้ำในการพัฒนาฟาร์มและพันธุ์พืชทั้งเพื่อประโยชน์ของการวางแผนด้านการผลิตวัตถุดิบและยังนำไปสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เพื่อชุมชนและสังคมไปพร้อมกัน ซึ่งเป็นที่มาของการก่อตั้งฟาร์มหอมขจร ตามแนวคิด “เกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ” ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2561 (ที่มา https://homkhajorn.dusit.ac.th/ ) จากนโยบายและการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องของฟาร์มหอมขจรดังกล่าวข้างต้น นำมาซึ่งความต่อยอดในด้านการขยายความร่วมมือกับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ.-มสด.) ที่ได้จัดทำโครงการร่วมกันภายใต้กรอบระยะเวลาและแผนงานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2569 ถือเป็นการต่อยอดเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนต่อยอดไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้
นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยสวนดุสิตยังได้ประกาศมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เรื่อง นโยบายการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พลังงาน และทรัพยากรของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ลงวันที่ 18 สิงหาคม2565 เพิ่มเติมเพื่อสอดรับกับการส่งเสริมความยั่งยืนในด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ให้นักศึกษา บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วนร่วมในการดำเนินการ จัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน และทรัพยากรของมหาวิทยาลัย ตามข้อ 2 การสรรหาแหล่งอาหารที่ได้มาตรฐาน การประกอบอาหารที่ปราศจากสิ่งเจือปน ในทุกขั้นตอน จากท้องถิ่นที่มีกระบวนการผลิตอย่างยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค (ที่มา https://sdg.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/10/Announcement-of-Environmental-Quality-Management-Policy.pdf) (ที่มา https://rspg.dusit.ac.th/66/rspg-project/ และ https://rspg.dusit.ac.th/66/%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b9%81%e0%b8%99%e0%b8%a7%e0%b8%84%e0%b8%b4%e0%b8%94/ )
ในปี 2566 มหาวิทยาลัยสวนดุสิตได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการส่งเสริมการผลิตอาหารอย่างยั่งยืนภายในพื้นที่มหาวิทยาลัย ผ่านการดำเนินงานในหลายพื้นที่ ทั้งที่หอมขจรฟาร์ม โครงการเมืองต้นแบบเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ได้มีการพัฒนาระบบการผลิตเกษตรปลอดภัยที่สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยมีการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงที่มาของวัตถุดิบและใกล้ชิดกับเกษตรกรมากขึ้น (ที่มา https://homkhajorn.dusit.ac.th/) และที่ศูนย์การเรียนรู้เกษตรปลอดภัยและนันทนาการศูนย์การศึกษานครนายก จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งได้พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรปลอดภัยสำหรับนักเรียน นักศึกษา และชุมชนใกล้เคียง โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมนันทนาการและบูรณาการความรู้ในการพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรร่วมกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ที่มา https://web.facebook.com/photo.php?fbid=779793837487095&set=pb.100063694561029.-2207520000&type=3)
นอกจากนี้ ที่ศูนย์การศึกษานครนายก มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้จัดโครงการ “สวนเกษตรปันสุข” ภายใต้โครงการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศในศตวรรษที่ 21 โดยจัดกิจกรรมให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้เรียนรู้การทำเกษตรยั่งยืนในพื้นที่มหาวิทยาลัย เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 ที่มีการเรียนรู้การเตรียมดินและการดูแลพืชผล และต่อเนื่องถึงวันที่ 26 เมษายน 2566 ที่นักศึกษาได้ร่วมกันปลูกพืชผักสวนครัวหลากหลายชนิด เช่น คะน้า ผักบุ้ง และต้นหอม พร้อมทั้งเรียนรู้การดูแลรักษาอย่างยั่งยืน
(ที่มาhttps://www.dusit.ac.th/home/2023/1064449.html และ https://www.dusit.ac.th/home/2023/1091811.html/nggallery/page/1)
การดำเนินงานในทุกพื้นที่ของมหาวิทยาลัยสะท้อนให้เห็นถึงนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมการผลิตอาหารอย่างยั่งยืน โดยมีการบูรณาการทั้งด้านการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการแก่ชุมชน ผ่านการสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัย นักศึกษา และชุมชน เพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจในการผลิตอาหารอย่างยั่งยืน