มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมีหลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาตรีที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศ ซึ่งรวมถึงการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับพันธุ์พืชป่าและพันธุ์สัตว์ป่า โดยมีรายละเอียดดังในลิงค์ https://sdg.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/10/15.2.4.1.pdf ซึ่งจากการวิเคราะห์รายวิชาที่เปิดสอน พบว่ามีการจัดการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างเป็นระบบ โดยสามารถจำแนกได้เป็น 4 กลุ่มหลัก ดังนี้:
1. รายวิชาพื้นฐานด้านระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยรายวิชาเหล่านี้ครอบคลุมเนื้อหาด้านพันธุศาสตร์ วิวัฒนาการ ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต และความสัมพันธ์ระหว่างระบบนิเวศกับสิ่งแวดล้อม
* ชีววิทยาทั่วไป (4031121)
* นิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม (4061105)
* ความหลากหลายทางชีวภาพ (1093621)
2. รายวิชาด้านการจัดการและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รายวิชาเหล่านี้มุ่งเน้นการประยุกต์ความรู้เพื่อการจัดการ อนุรักษ์ และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
* วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม (1093623)
* การฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อม (4064416)
* เมืองเพื่อความยั่งยืน (4064105)
3. รายวิชาที่เชื่อมโยงกับชุมชนและสังคม รายวิชาเหล่านี้เน้นการสร้างความเข้าใจและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในระดับสังคม
* เศรษฐศาสตร์สีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (4062306)
* ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (4064417)
4. รายวิชาภาคปฏิบัติและการประยุกต์ใช้: รายวิชาเหล่านี้เน้นการฝึกปฏิบัติและประสบการณ์จริงในการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม
* ปฏิบัติการชีววิทยาทั่วไป (4031122)
* การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (4064803)
จุดเด่นของหลักสูตรในภาพรวม คือการบูรณาการองค์ความรู้ด้านระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพเข้ากับการพัฒนาที่ยั่งยืน มีการเชื่อมโยงทฤษฎีสู่การปฏิบัติ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการอนุรักษ์ระบบนิเวศบนบกและความหลากหลายทางชีวภาพ
นอกจากนี้ ในส่วนของการจัดโปรแกรมการศึกษาเกี่ยวกับระบบนิเวศในปี 2566 สำหรับชุมชน ผู้ประกอบการ และบุคคลที่สนใจ ประกอบด้วยการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “บทบาทของนักท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวเเบบยั่งยืน” ซึ่งเป็นการต่อยอดจากการดำเนินงานร่วมกันในการจัดทำหลักสูตร “บทบาทของมัคคุเทศก์ในงานอนุรักษ์และการต่อต้านการค้างาช้างและสัตว์ป่าผิดกฎหมาย” ระหว่างโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่มัคคุเทศก์อาชีพให้มีความตระหนักรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องและข้อควรปฎิบัติต่อนักท่องเที่ยว อันจะนำไปสู่ลดการซื้องาช้างในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวจีนซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคหลักได้ โดยผู้เข้าร่วมเรียนรู้ ได้แก่ มัคคุเทศก์ไทยที่ทำงานกับนักท่องเที่ยวจีน และอาเซียน จำนวน 120 ท่าน ที่อยู่ในเครือข่ายของสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย (ที่มา https://www.dusit.ac.th/home/2023/1061657.html)
หลักสูตรประกาศนียบัตร Non-Degree ศาสตร์และศิลป์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศชีวภาพกับธุรกิจลานกางเต็นท์สีเขียว The Art and Science of Bio Innovative Tourism and A Green Campground Business) โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะ เพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปการอุดมศึกษาไทย ประเภทประกาศนียบัตร (Non-Degree) กลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (ที่มา https://onlinecourse.dusit.ac.th/?p=1613) อีกทั้ง ยังได้จัดการอบรมภาคปฏิบัติกับผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ ระหว่างวันที่ 16 -24 กันยายน 2566 ภายใต้ในโครงการดังกล่าว โดยได้รับความร่วมมือจาก กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน (ตอนใต้) และ สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (TEATA) (ที่มา https://www.dusit.ac.th/home/2023/1153532.html/nggallery/page/3)
และที่สำคัญภายใต้กิจกรรมโครงการพัฒนาระบบ E-Learning เพื่อการบริหารจัดการบทเรียนออนไลน์และสื่อดิจิทัลเพื่อการเผยแพร่ความรู้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ.-มสด.) ได้มีการพัฒนาระบบ E-Learning เพื่อการบริหารจัดการบทเรียนออนไลน์และสื่อดิจิทัลเพื่อการเผยแพร่ความรู้ โครงการ อพ.สธ.-มสด. ที่ https://www.d-course.com/ โดยมีสื่อการเรียนรู้บทเรียนออนไลน์การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและการใช้ประโยชน์ 6 วิชา 36 บทเรียน
ซึ่งโปรแกรมการศึกษาตามที่กล่าวมาข้างต้น แสดงให้เห็นถึงการจัดการศึกษาเกี่ยวกับระบบนิเวศในหลากหลายรูปแบบ ครอบคลุมทั้งการอนุรักษ์สัตว์ป่า การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และการมีส่วนร่วมของพลเมืองในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ