การให้ความรู้แก่ชุมชนด้านการจัดการที่ดินเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน จัดทำโครงการให้ความรู้/การเข้าถึงชุมชนเกี่ยวกับการจัดการที่ดินเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืนของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต

มหาวิทยาลัยสวนดุสิตได้มุ่งเน้นการพัฒนาและส่งเสริมการจัดการที่ดินเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนผ่านการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และโครงการที่สำคัญในหลายพื้นที่ โดยในปี 2566 ได้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.–มสด.) ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการสนับสนุนการให้บริการฝึกอบรม งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน และการจัดการฐานทรัพยากรท้องถิ่นให้กับหน่วยงานภาครัฐและชุมชนในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีและภาคกลาง (https://www.dusit.ac.th/home/2023/1190676.html)

นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาโครงการเมืองต้นแบบเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะผ่านการดำเนินงานของหอมขจรฟาร์ม อย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นการพัฒนาระบบการผลิตเกษตรปลอดภัยที่สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม พร้อมทั้งพัฒนาระบบการเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค เพื่อสร้างความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทานการเกษตร (ที่มา https://homkhajorn.dusit.ac.th/) การดำเนินงานที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เกษตรปลอดภัยและนันทนาการ ที่มุ่งพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรปลอดภัยสำหรับนักเรียน นักศึกษา และชุมชน โดยบูรณาการการเรียนรู้ด้านการเกษตรกับสุขภาวะของคนทุกช่วงวัย มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายทั้งการวิจัย นิทรรศการ การศึกษาดูงาน และการส่งเสริมการแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรโดยชุมชนมีส่วนร่วม (https://www.facebook.com/photo.php?fbid=840013718131773&set=pb.100063694561029.-2207520000&type=3&_rdc=1&_rdr)

ในส่วนของภาคปฏิบัติการเชิงพื้นที่ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนนั้น มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการศึกษาอย่างยั่งยืน โดยในวิทยาเขตสุพรรณบุรีมีแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ ได้แก่ สวนพฤกษศาสตร์พันธุ์ไม้ท้องถิ่นหายาก แปลงพืชอนุรักษ์ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ และหอมขจรฟาร์มซึ่งเป็นต้นแบบเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ ซึ่งการดำเนินงานในปี 2566 เน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านการจัดกิจกรรมศึกษาดูงานให้แก่สถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งในระดับผู้บริหาร คณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา โดยบูรณาการการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเข้ากับการท่องเที่ยวเชิงการศึกษา พร้อมทั้งสาธิตการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการจัดการฟาร์มอัจฉริยะ อาทิเช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น (ที่มา https://rspg.dusit.ac.th/66/kpru-visited/ และ https://www.dusit.ac.th/home/2023/1099591.html และ https://www.aru.ac.th/uploads/arunews-pdf/2023-08-28-111158.pdf)

อีกทั้งได้เริ่มมีการดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในศูนย์การเรียนรู้เกษตรปลอดภัยและนันทนาการ จังหวัดปราจีนบุรี ที่มุ่งพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรปลอดภัยสำหรับนักเรียน นักศึกษา และชุมชน ตัวอย่างกิจกรรม เช่น การต้อนรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนชุมชนบ้านขอนขว้าง จังหวัดปราจีนบุรีเข้ามาศึกษาดูงาน สวนผักและผลไม้เกษตรปลอดภัย (https://www.facebook.com/photo.php?fbid=826067736193038&set=pb.100063694561029.-2207520000&type=3)

ผลการดำเนินงานก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา อีกทั้งยังเป็นต้นแบบของการจัดการพื้นที่แบบบูรณาการที่สามารถสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การพัฒนาการเกษตร และการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน