การดำเนินงานด้านการติดตามชนิดพันธุ์ตามบัญชีแดงของ IUCN และชนิดพันธุ์อนุรักษ์อื่นๆ มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการระบุ ติดตาม และคุ้มครองชนิดพันธุ์ที่อยู่ในบัญชีแดงของ IUCN (สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ) และชนิดพันธุ์ในบัญชีอนุรักษ์ระดับประเทศ ที่มีถิ่นที่อยู่อาศัยในพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย โดยเป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เรื่อง นโยบายการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พลังงาน และทรัพยากรของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ลงวันที่ 18 สิงหาคม2565 ให้นักศึกษา บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน และทรัพยากรของมหาวิทยาลัย ตามข้อ 5 ส่งเสริมการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เฝ้าระวังและติดตามสถานภาพของทรัพยากรในพื้นที่ ป้องกันผลกระทบที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตต่างถิ่น (ที่มา https://sdg.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/10/Announcement-of-Environmental-Quality-Management-Policy.pdf)
อีกทั้งในพื้นที่วิทยาเขตสุพรรณบุรียังมีการดำเนินงานตามประกาศมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เรื่อง มาตรการประหยัดพลังงาน เพื่อให้บุคลากรทุกคนในมหาวิทยาลัยปฏิบัติเพื่อลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก โดยเฉพาะในยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่ การอนุรักษ์และปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืน (ที่มา https://sdg.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/10/mou-suphan-intention.pdf)
มหาวิทยาลัยได้ดำเนินนโยบายการติดตามและคุ้มครองชนิดพันธุ์ที่อยู่ในบัญชีแดงของ IUCN โดยเฉพาะช้างไทยซึ่งเป็นสัตว์คุ้มครองที่ถูกคุกคามจากการค้างาช้างผิดกฎหมาย ผ่านความร่วมมือกับองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) และสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย ในการพัฒนาหลักสูตร “บทบาทของมัคคุเทศก์ในงานอนุรักษ์และการต่อต้านการค้างาช้างและสัตว์ป่าผิดกฎหมาย” การดำเนินงานมุ่งเน้นการสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ผ่านภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการให้ความรู้แก่มัคคุเทศก์ที่ทำงานกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ เกี่ยวกับกฎหมายและแนวปฏิบัติในการป้องกันการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการ “เที่ยวไทยไร้งาช้าง” (Travel Ivory Free) โครงการนี้แสดงให้เห็นถึงการบูรณาการการอนุรักษ์สัตว์ป่าเข้ากับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยผ่านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา องค์กรระหว่างประเทศ และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เพื่อร่วมกันติดตามและปกป้องชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยในการเป็นผู้นำด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพผ่านการศึกษาและการสร้างความตระหนักรู้ในระดับสากล (ที่มา https://www.dusit.ac.th/home/2023/1061657.html)