นโยบายและการดำเนินงานในการลดผลกระทบจากชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (alien species หรือ สิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่พันธุ์พื้นเมือง) ภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

การดำเนินงานด้านการลดผลกระทบจากชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (alien species หรือ สิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่พันธุ์พื้นเมือง) ภายในพื้นที่มหาวิทยาลัย เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เรื่อง นโยบายการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พลังงาน และทรัพยากรของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2565 ให้นักศึกษา บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน และทรัพยากรของมหาวิทยาลัย ตามข้อ 5 ส่งเสริมการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เฝ้าระวังและติดตามสถานภาพของทรัพยากรในพื้นที่ ป้องกันผลกระทบที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตต่างถิ่น (ที่มา https://sdg.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/10/Announcement-of-Environmental-Quality-Management-Policy.pdf)

อีกทั้งยังสอดคล้องกับกรอบการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ.-มสด.)ในกิจกรรมที่ 2 กิจกรรม
สำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากร กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากร กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากร และกิจกรรมที่ 5 กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทรัพยากร (ที่มา https://rspg.dusit.ac.th/66/rspg-project/ และ https://rspg.dusit.ac.th/66/%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b9%81%e0%b8%99%e0%b8%a7%e0%b8%84%e0%b8%b4%e0%b8%94/)

มหาวิทยาลัยได้ขับเคลื่อนนโยบายการลดผลกระทบจากชนิดพันธุ์ต่างถิ่นภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) โดยมีเป้าหมายในการอนุรักษ์และส่งเสริมการใช้พันธุ์พืชท้องถิ่นในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ดำเนินการผ่านกิจกรรมสำคัญ 4 ด้าน ได้แก่
1) ด้านการจัดการข้อมูล มีการสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลพืชท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ ทั้งการบันทึกข้อมูลพรรณไม้ การจัดทำป้ายชื่อและรหัสประจำต้น รวมถึงการพัฒนาฐานข้อมูลพันธุกรรมพืชที่มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
2) ด้านการปฏิบัติการ มุ่งเน้นการส่งเสริมการปลูกพืชท้องถิ่น ผ่านการคัดเลือกพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมกับพื้นที่ การจัดทำแปลงรวบรวมพันธุ์ และการศึกษาวิเคราะห์สภาพพื้นที่อย่างละเอียดก่อนการปลูก
3) ด้านการศึกษา เน้นการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับพืชท้องถิ่น
การบูรณาการความรู้ด้านพฤกษศาสตร์ในการเรียนการสอน และการสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของพันธุ์พืชท้องถิ่น
4) ด้านการติดตามประเมินผล มีระบบการบันทึกการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงของพืช การประเมินความสำเร็จของการปลูกและการอนุรักษ์ พร้อมทั้งการพัฒนาแนวทางการจัดการตามผลการประเมิน
(ที่มา https://rspg.dusit.ac.th/66/botanical-garden-bkk/)
(ที่มา https://rspg.dusit.ac.th/66/botanical-garden-suphanburi/)
(ที่มา https://rspg.dusit.ac.th/66/botanical-garden-nakhonnayok/)
ที่มา https://rspg.dusit.ac.th/66/botanical-garden-lampang/)

(ที่มา https://rspg.dusit.ac.th/66/database-plant/)

ซึ่งการดำเนินงานทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพท้องถิ่นและการลดผลกระทบจากชนิดพันธุ์ต่างถิ่นอย่างเป็นระบบ โดยใช้การวิจัย การศึกษา และการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม