การจัดการขยะใช้แล้วทิ้งภายในมหาวิทยาลัยสวนดุสิต

การดำเนินงานด้านการจัดการขยะใช้แล้วทิ้งของมหาวิทยาลัย ดำเนินงานอ้างอิงตามประกาศมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เรื่อง นโยบายการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พลังงานและทรัพยากรของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ข้อ 4 ส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารการจัดการ ปรับปรุง ป้องกัน และควบคุมมลพิษโดยการจัดการขยะ น้ำเสีย อากาศ สารเคมี และมลพิษอื่นๆ อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้มาตรฐานที่กำหนด ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 17 สิงหาคม 2560 (ที่มา https://green.dusit.ac.th/policies/ ) และได้มีการดำเนินงานต่อเนื่องผ่านการดำเนินงานตามนโยบายการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พลังงานและทรัพยากรของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2565 (ที่มา https://sduzerowaste.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/11/environmental-quality-management-policy-2565.pdf) โดยมีความเชื่อมโยงกับข้อ 3 มุ่งสร้างจิตสำนึก ให้ความรู้ ความเข้าใจ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักศึกษา บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดำเนินการตามหลักการ 3R คือ Reduce (ลดการใช้หรือใช้น้อยเท่าที่จำเป็น) Reuse (การใช้ซ้ำ) และ Recycle (แปรรูปมาใช้ใหม่) เพื่อลดปริมาณขยะใช้แล้วทิ้ง และข้อ 6 ส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารการจัดการ ปรับปรุง ป้องกัน และควบคุมมลพิษโดยการจัดการของเสีย ของเสียอันตราย น้ำเสีย อากาศ สารเคมี และมลพิษอื่นๆ และให้ความสำคัญกับการนำกลับมาใช้ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้มาตรฐานที่กำหนด เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากการดำเนินงานที่กล่าวมานำไปสู่การส่งเสริมความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยตาม “ทิศทางมหาวิทยาลัยสวนดุสิต จิ๋วแต่แจ๋ว ฉบับทบทวน 2566-2567 (SDU Direction: Small But Smart Revised Version 2023-2024)” (ที่มา: https://www.dusit.ac.th/home/wp-content/uploads/2023/06/SDU_Directions66-67.pdf) โดยมี แนวปฏิบัติการจัดการของเสียและของเสียอันตราย เรื่อง การจัดการขยะ และการจัดการของเสียอันตราย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กำหนดไว้อย่างชัดเจน (ที่มา https://sduzerowaste.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/11/harzadouswaste-system.pdf )

การพัฒนาระบบการจัดการขยะของมหาวิทยาลัยภายใต้แนวคิดของเสียเหลือศูนย์ (Zero waste) นั้น เริ่มจากการจัดการขยะในภาพรวมของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต มีการดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานอย่างบูรณาการร่วมกัน ซึ่งในปัจจุบันมีการขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) โดยมีกรอบระยะเวลาการดำเนินงาน ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2559-ปัจจุบัน การพัฒนาระบบสนับสนุนการลดการเกิดขยะ มีการใช้กระบวนการ 3Rs การลดการใช้ (Reduce) การนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) มาใช้ โดยเริ่มจากการพัฒนาระบบการจัดการขยะรีไซเคิล เช่น การติดตั้งถังขยะแบบแยกประเภท และการติดตั้งจุดพักขยะรีไซเคิลประเภทต่างๆ พร้อมทั้งดำเนินการประชาสัมพันธ์ และรณรงค์อย่างต่อเนื่อง

การพัฒนาโครงการที่สนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจกด้านของเสีย

ในปัจจุบันหน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัย วิทยาเขต และศูนย์การศึกษา ได้มีการต่อยอดพัฒนาระบบการคัดแยกขยะรีไซเคิล ได้แก่ พลาสติก แก้ว กระดาษ อลูมิเนียม และโลหะ ในนามของหน่วยงาน และมีการจัดเก็บสถิติ ส่งข้อมูลพร้อมหลักฐานการดำเนินกิจกรรมให้ทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม ภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการ คปอ. ดำเนินการจัดทำรายงานการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการคัดแยกขยะรีไซเคิล และยื่นขอการรับรองกิจกรรม LESS (Low Emission Support Scheme) กับทางองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. โดยมหาวิทยาลัย มีการดำเนินงานด้าน LESS การจัดการของเสีย ในรูปแบบของการดำเนินงานร่วมกันในภาพรวมมหาวิทยาลัย อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2562 ถึงปัจจุบัน ซึ่งในปี 2566 ยื่นขอการรับรอง LESS ด้านของเสีย (การคัดแยกขยะรีไซเคิล) รวม 34 กิจกรรม สามารถคัดแยกขยะรีไซเคิลได้ 8,344 กิโลกรัม และคิดเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 23.915 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า นอกจากนี้ก่อนการเริ่มพัฒนาโครงการ LESS ในแต่ละปีจะมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน โดยปี 2566 ได้จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนด้วยกลไกการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” การมีตั้งบูธรับบริจาคขยะพลาสติกภายใต้โครงการพลาสติกแบงก์

(https://www.naewna.com/local/711356#google_vignette) (https://www.dusit.ac.th/home/2023/1057827.html)

กิจกรรมกล่อง BOX บุญเพื่อคนพิการของไปรษณีย์ไทย

         กิจกรรมการส่งต่อกล่องซองกระดาษไม่ใช้แล้ว ร่วมแคมเปญ “กล่อง BOX บุญเพื่อคนพิการ” ของไปรษณีย์ไทย ได้มีการเปิดรับบริจาคผ่านโครงการพลาสติกแบงก์ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม – ตุลาคม 2566 ทั้งในพื้นที่มหาวิทยาลัย และศูนย์วิทยาศาสตร์ และนำไปส่งต่อบริจาคร่วมโครงการที่ไปรษณีย์ไทย เพื่อนำไปรีไซเคิลเป็นกล่องใหม่ สร้างประโยชน์ให้คนพิการ นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ด้วยการส่งมอบให้หน่วยงานเพื่อคนพิการ อาทิ สภากาชาดไทย มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย สมาคมคนสายตาเลือนราง (แห่งประเทศไทย) และสมาคมประชาคมคนตาบอดไทย เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินโครงการเป็นที่สิ้นสุดแล้ว มียอดการบริจาคที่ 176.7 กิโลกรัม

กิจกรรมรณรงค์เพื่อสนับสนุนการลดใช้วัสดุที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง และการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า

ในการรณรงค์ประจำปี 2566 นี้ ดำเนินงานผ่านกิจกรรม SDU: Actions toward the Sustainable

Development Goals เพื่อพัฒนามาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยเชิงพื้นที่ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิตอย่างยั่งยืนตามทิศทางของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต : จิ๋ว แต่ แจ๋ว (ฉบับทบทวน) พ.ศ.2566-2567 ภายในงานได้มี กิจกรรมจากนักเรียนโรงเรียนสาธิตลอออุทิศ การแสดงผลงานจากการประกวดประดิษฐ์งานจากวัสดุเหลือใช้ที่ได้รับรางวัล กิจกรรมการแสดงผลงานด้านการพัฒนามหาวิทยาลัยที่สวยสะอาดและใส่ใจสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบโปสเตอร์ ของนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร และหน่วยงาน และการประกาศผลประกวดกิจกรรม รักษ์โลก ลดพลาสติกของนักศึกษา และบุคลากร ภายใต้เครือข่ายสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร

(https://www.dusit.ac.th/home/2023/1138742.html)