สรุปผลการประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงานมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ปี 2566

มหาวิทยาลัยสวนดุสิตจัดให้มีคณะทํางานด้านการจัดการพลังงานขึ้น เพื่อทําหน้าควบคุมดูแล ดําเนินการ ประสานงาน และรายงานผลการจัดการพลังงานในองค์กร ตลอดจนตรวจติดตามและทบทวนการดําเนินการจัดการพลังงานให้เป็นไปตามนโยบายอนุรักษ์พลังงานที่องค์กรได้กําหนดขึ้น โดยมีผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  1. รายงานการใช้พลังงานไฟฟ้า และการใช้พลังงานต่อพื้นที่ใช้สอยปี 2566

    มหาวิทยาลัยมีปริมาณการใช้ไฟฟ้า ปี 2566 รวม 7,747,000.00 กิโลวัตต์-ชั่วโมง หรือ 27,889.2 Gigajoules โดยมีข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้าในแต่ละเดือน ดังนี้

    เดือนพลังงานไฟฟ้า ปริมาณ(กิโลวัตต์-ชั่วโมง)
    ม.ค488,000.00
    ก.พ.550,000.00
    มี.ค.676,000.00
    เม.ย.610,000.00
    พ.ค.677,000.00
    มิ.ย.741,000.00
    ก.ค.645,000.00
    ส.ค.747,000.00
    ก.ย.688,000.00
    ต.ค.670,000.00
    พ.ย.659,000.00
    ธ.ค.596,000.00
    รวม7,747,000.00

    นอกจากนี้ยังมีการจัดเก็บข้อมูลสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าแยกตามระบบปี 2566 ครอบคลุมระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์ ระบบปรับอากาศแบบแยกส่วน ระบบแสงสว่าง และอื่นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำปสู่แผนการจัดการและอนุรักษ์พลังงาน ปี 2567 ต่อไป ซึ่งมีปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าแยกตามระบบต่างๆ ดังนี้

    ทั้งนี้มหาวิทยาลัยมีการใช้พลังงานต่อพื้นที่ใช้สอยปี 2566 โดยแบ่งเป็นพื้นที่ปรับอากาศ รวม 112,530 ตารางเมตร และพื้นที่ไม่ปรับอากาศ รวม 23,450 ตารางเมตร รวมพื้นที่การใช้ประโยชน์พื้นที่ใช้สอยที่ใช้งานจริง 135,980 ตารางเมตร โดยมีรายละเอียดการใช้ประโยชน์พื้นที่ใช้สอยที่ใช้งานจริงในแต่ละเดือน ในรอบปี 2566 ดังนี้

    2. การประเมินสถานภาพการจัดการพลังงานเบื้องต้นของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประจำปี 2566

      การประเมินสถานภาพการจัดการพลังงานเบื้องต้นของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ใช้รูปแบบของตารางการประเมินการจัดการพลังงาน (Energy Management Matrix : EMM) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบถึงสถานภาพการจัดการพลังงานภายในองค์กร ในเรื่องของ แนวนโยบายด้านการจัดการพลังงาน รูปแบบการจัดองค์กร การกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจ รวมทั้งระบบข้อมูลข่าวสารการประชาสัมพันธ์ และการลงทุน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาระบบการจัดการพลังงานต่อไป โดยได้ดำเนินการประเมินสภานภาพ การจัดการพลังงานเบื้องต้นในหน่วยงานย่อยตามโครงสร้างและภาพรวมของมหาวิทยาลัยจาก 35 แผนก ของจำนวนทั้งหมด 35 แผนก หรือบุคลากรจำนวน 108 คน จากทั้งหมด 2000 คน คิดเป็นร้อยละ  5.4 %
      (คิดจากจำนวนแผนก) ซึ่งมีผลการประเมินสถานภาพการจัดการพลังงานในภาพรวมของอาคารดังนี้

      ตารางการประเมินการจัดการพลังงานขององค์กร

      ซึ่งผลจากการการประเมินการจัดการพลังงานขององค์กรตามแนวทางการวิเคราะห์เพื่อประเมินสถานภาพการจัดการพลังงานตามลักษณะเส้นแบบต่างๆ ในทุกประเด็นพบว่า มีคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีระบบการจัดการทางด้านพลังงานที่ดีมาก และต้องรักษาให้ยั่งยืนต่อไป

      ภาพแนวทางการวิเคราะห์เพื่อประเมินสถานภาพการจัดการพลังงานตามลักษณะเส้นแบบต่างๆ

      3. รายงานผลการดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงาน การตรวจสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน

      3.1 สรุปผลการติดตามการดำเนินการของมาตรการอนุรักษ์พลังงาน
      คณะทำงานด้านการจัดการพลังงานได้ดำเนินการติดตามความก้าวหน้าของการปฏิบัติตามมาตรการและแผนอนุรักษ์พลังงานที่กำหนดไว้ โดยผลการดำเนินการสรุปได้ดังต่อไปนี้

      3.2 สรุปผลการตรวจสอบการปฏิบัติตามเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงาน

      มหาวิทยาลัยมีผลการดำเนินงานเป็นตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ร้อยละ 4.79  โดยสามารถดำเนินการอนุรักษ์พลังงานได้จริง ร้อยละ 5.10 เมื่อเทียบกับปริมาณพลังงานที่ใช้เดิม โดยมีผลการตรวจสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน ดังนี้

      3.3 ผลการตรวจสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน สำหรับมาตรการด้านไฟฟ้า

      1. แผนการฝึกอบรม และกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

      พบว่ามีการดำเนินการตามแผนการฝึกอบรมการอนุรักษ์พลังงาน และแผนกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ประจำปี 2566 ดังนี้