เมื่อวันที่ 11 – 12 กุมภาพันธ์ 2566 โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ ร่วมกับ สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (สทอ.) หรือ TEATA ซึ่งเป็นองค์การนอกภาครัฐ (อังกฤษ: non-governmental organization / organization: NGO) จัดกิจกรรมลานแคมป์ปิ้งสีเขียว เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว แบบ Low Carbon ณ จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ โดยมีกิจกรรม ได้แก่
- กิจกรรมของชุมชนบ้านไร่กร่าง อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนวิถีชีวิต ไร่นาป่าตาล เรียนรู้ชุมชนผ่านการปั่นจักรยาน ชมท้องนาและวิวภูเขาที่จุดชมวิวทุ่งนาหัวล่อ ไปทำความรู้จักกับต้นตาลโตนดของขึ้นชื่อเมืองเพชร ที่สามารถนำมาประกอบอาหารเป็นเมนูคาวหวานได้อย่างหลากหลายตามสไตล์ของชาวชุมชนบ้านไร่กร่าง ไม่ว่าจะเป็น ขนมตาล น้ำตาลสด แกงหัวตาล ต้มจืดหัวโตนด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการสาธิตการปีนต้นตาลจากคนในชุมชน เพื่อไปเก็บผลตาลโตนดมาปอกให้นักท่องเที่ยวได้กินกันแบบสด ๆ จากต้น และเก็บน้ำตาลสดบนต้นที่ตัดทิ้งไว้ เพื่อนำมาเคี่ยวต่อเป็นน้ำตาลโตนดก้อน ของฝากของขึ้นชื่อของจังหวัดเพชรบุรีเพื่อเชื่อมโยงกับกิจกรรมลานแคมป์ปิ้งสีเขียว เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว แบบ Low Carbon
- กิจกรรมศึกษาดูตัวอย่างในเรื่องภูมิสถาปัตย์ของการทำลานกางเต้นท์ในรูปแบบของการพัฒนาร่วมกับพื้นที่การเกษตร ของเดอะซัมเมอร์แค้มป์
- กิจกรรมเข้าพักแค้มป์ปิ้งสีเขียวในรีสอร์ทที่มีลานกางเต้นท์และสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันของ รีสอร์ทบ้านสวนสบายใจเพื่อเป็นตัวอย่างของการจัดกิจกรรม
- กิจกรรมเทร็คกิ้ง มินิแค้มป์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจของผู้ประกอบการและผู้สนใจทำลานกางเต้นท์และความหลากหลายของกิจกรรมเสริม รวมถึงการท่องเที่ยวเชื่อม แบบ Low Carbon โยงในพื้นที่ซึ่งเป็นการบูรณาการและสร้างเสริมประสบการณ์ของบุคลากรในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ “ศาสตร์และศิลป์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศชีวภาพกับธุรกิจลานกางเต็นท์สีเขียว (The Art and Science of Bio Innovative Tourism and A Green Campground Business)” อีกด้วย
เป็นชุมชนวิถีชีวิตไร่นาป่าตาล เรียนรู้ชุมชนผ่านการปั่นจักรยาน ชมท้องนาและวิวภูเขาที่จุดชมวิวทุ่งนาหัวล่อ ไปทำความรู้จักกับต้นตาลโตนดของขึ้นชื่อเมืองเพชร ที่สามารถนำมาประกอบอาหารเป็นเมนูคาวหวานได้อย่างหลากหลายตามสไตล์ของชาวชุมชนบ้านไร่กร่าง ไม่ว่าจะเป็น ขนมตาล น้ำตาลสด แกงหัวตาล ต้มจืดหัวโตนด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการสาธิตการปีนต้นตาลจากคนในชุมชน เพื่อไปเก็บผลตาลโตนดมาปอกให้นักท่องเที่ยวได้กินกันแบบสด ๆ จากต้น และเก็บน้ำตาลสดบนต้นที่ตัดทิ้งไว้ เพื่อนำมาเคี่ยวต่อเป็นน้ำตาลโตนดก้อน ของฝากของขึ้นชื่อของจังหวัดเพชรบุรี
แหล่งที่มา :