การดำเนินงานตามมาตรฐาน แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสีย และการปล่อยน้ำทิ้งของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มีการพัฒนาสูการเปนมหาวิทยาลัยที่สวยงาม สะอาด ปลอดภัย (Green & Clean University) ในประเด็นด้านความปลอดภัยและการสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดี มีการดำเนินงานภายใต้การขับ เคลื่อนของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) ซึ่งมีการก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 มีตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ เป็นคณะกรรมการฯ ซึ่งในบริบทของมหาวิทยาลัยสวนดุสิตนั้น ได้ดำเนินการครอบคลุมการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยจำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการดูแลความปลอดภัย ด้านการจัดการพลังงาน และด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังมีการพัฒนาระบบต่างๆ เพื่อประยุกต์ใช้ในแต่ละพื้นที่อันเป็นการสนับสนุนการพัฒนาระบบความปลอดภัยและเอื้ออำนวยให้ก่อเกิดสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งในที่นี้หมายรวมถึงการจัดการน้ำเสียจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัย (ที่มา https://www.dusit.ac.th/home/2023/1120414.html)

ในส่วนของการดำเนินงานตามมาตรฐาน แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสีย และการปล่อยน้ำทิ้งของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เรื่อง นโยบายการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พลังงาน และทรัพยากรของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ลงวันที่ 18 สิงหาคม2565 ให้นักศึกษา บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วนร่วมในการดำเนินการ จัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน และทรัพยากรของมหาวิทยาลัย ตามข้อ 6 ส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารการจัดการ ปรับปรุง ป้องกัน และควบคุมมลพิษโดยการจัดการของเสีย ของเสียอันตราย น้ำเสีย อากาศ สารเคมี และมลพิษอื่นๆ และให้ความสำคัญกับการนำกลับมาใช้ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้มาตรฐานที่กำหนด เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (ที่มา https://sdg.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/10/Announcement-of-Environmental-Quality-Management-Policy.pdf) แนวปฏิบัติระบบน้ำใช้ น้ำดื่ม ระบบการจัดการน้ำเสีย และการป้องกันสารมลพิษที่ลงสู่ระบบน้ำของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต (ที่มา https://sduzerowaste.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/11/water-anddrinkwater-system.pdf)

มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมีระบบบริหารจัดการน้ำเสียที่คำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิต โดย ได้ดำเนินการตามมาตรฐานการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งมี 2 ระบบหลักที่คำนึงถึงเป็นพิเศษ ได้แก่ ระบบบำบัดน้ำเสียห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ใช้ระบบตะกอนเร่งแบบ SBR (Sequencing Batch Reactor) และระบบบำบัดน้ำเสียจากครัว (มีการติดตั้งถังดักไขมัน และระบบบำบัดทางชีวภาพ) โดยมีแนวปฏิบัติและมาตรการที่ชัดเจนในการควบคุมคุณภาพน้ำทิ้ง โดยมีการตรวจวัดพารามิเตอร์สำคัญ เช่น ค่า BOD, COD, pH และปริมาณออกซิเจนละลาย ก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำสาธารณะ โดยมีการกำหนดค่ามาตรฐานน้ำทิ้งตามเกณฑ์กรมควบคุมมลพิษ มีการติดตามคุณภาพน้ำก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำสาธารณะ สำหรับในส่วนของการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย มีการจัดทำคู่มือการเดินระบบและการบำรุงรักษาที่ชัดเจน การกำหนดตารางการตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ และมีการบันทึกข้อมูลการทำงานของระบบประจำวัน เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศทางน้ำ นอกจากนี้ยังมีระบบดักจับไขมันและสารแขวนลอยเพื่อป้องกันการปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ รวมถึงมีการติดตามตรวจสอบประสิทธิภาพการบำบัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าน้ำที่ผ่านการบำบัดมีคุณภาพตามมาตรฐานและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต