การดำเนินงานด้านการจัดซื้อวัตถุดิบ และบรรจุภัณฑ์อย่างมีจริยธรรมและมีความรับผิดชอบ เพื่อส่งเสริมการลดการเกิดของเสียและสนับสนุนการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนนั้น เป็นกระบวนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยที่ทำให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่จัดซื้อได้มาด้วยวิธีที่รับผิดชอบและยั่งยืน โดยผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องในการผลิต มีความปลอดภัย และได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม และมีการพิจารณาถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสังคมในระหว่างกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง มหาวิทยาลัยมีการดำเนินงานอ้างอิงตามประกาศมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เรื่อง นโยบายการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พลังงานและทรัพยากรของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2565 โดยมีความเชื่อมโยงกับข้อ นโยบายการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พลังงานและทรัพยากรของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ปี 2565 ข้อที่ 2 การสรรหาแหล่งอาหารที่ได้มาตรฐาน การประกอบอาหารที่ปราศจากสิ่งเจือปนในทุกขั้นตอน จากท้องถิ่นที่มีกระบวนการผลิตอย่างยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค อีกทั้งยังเป็นการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติการแหล่งที่มาของอาหาร การประกอบอาหาร การจัดหา และการใช้วัตถุดิบ (https://sduzerowaste.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/11/environmental-quality-management-policy-2565.pdf)
นอกจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านการให้บริการด้านอาหาร ยังมีการคำนึงถึงคุณภาพของการเลือกซื้อวัตถุดิบจากผู้ขาย มีทั้งการกำหนดแนวทาง การทำลิสต์รายการผู้จำหน่าย เป็นต้น ซึ่งการดำเนินงานมีความใกล้เคียงกับมาตรฐานร้านอาหารสีเขียว ในประเด็นการเลือกซื้อวัตถุดิบ เพื่อลดการเกิดของเสียและใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด (https://www.dcce.go.th/news/project.aspx?p=1123)
(https://www.dcce.go.th/news/project_file.aspx?p=2350)
(1) เลือกใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น โดยพิจารณาจากการเลือกซื้อวัตถุดิบออร์แกนิค ผักผลไม้ตามฤดูกาล มีการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ใช้เอง เช่น
แนวทางที่ 1 มีการเลือกซื้อวัตถุดิบวัตถุดิบออร์แกนิค
แนวทางที่ 2 มีการเลือกซื้อผักผลไม้ตามฤดูกาล
แนวทางที่ 3 มีการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ใช้เอง
แนวทางที่ 4 มีการเลือกใช้อาหารทะเลที่มีวิธีการจับที่ถูกต้องตามกฎหมาย
แนวทางที่ 5 มีการเลือกซื้อวัตถุดิบที่ไม่ใช้สารเคมีตั้งแต่ต้นจนจบ คือ ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์ หรือ พันธุ์ที่มีการตัดต่อ หรือดัดแปลงทางพันธุกรรม ไม่มีการใช้สารเคมีในการเกษตร ทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมถึงการใช้ยากำจัดศัตรูพืช ในรูปแบบต่างๆ ทั้งพืช แมลง และรา ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมีในกระบวนการผลิต
แนวทางที่ 6 มีการเลือกซื้อวัตถุดิบที่มีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ไม่ใช้สารเคมีมาปนเปื้อนกับผลิตภัณฑ์ เช่น การใช้สารฟอร์มาลีนในสัตว์น้ำ การใช้สารเร่งเนื้อแดง การแช่ด้วยสารฟอกขาว เช่น ถั่วงอก ยอดมะพร้าวอ่อน ลูกตาล เป็นต้น
แนวทางที่ 7 มีการเลือกซื้อวัตถุดิบสัตว์น้ำ ที่ไม่มีวัตถุดิบจากสัตว์น้ำวัยอ่อนและไข่ เช่น ลูกปลาทู ปลาแก้ว หรือ กำลังวางไข่ เช่น ไข่ปลา ไข่ปูนอกกะดอง ไข่แมงดา ลูกกุ้ง ไม่ควรใช้ผลผลิตจากธรรมชาติที่ใกล้สูญพันธุ์ เช่น ปลากระเบนบางสายพันธุ์ ครีบฉลาม ปลาทูน่า หรือที่มีการทารุณกรรมสัตว์ เช่น ตับฟัวการ์ หรือไข่จากไก่เลี้ยงกรง Cage/Battery Chicken เป็นต้น
(2) เลือกซื้อวัตถุดิบจากผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐานที่เชื่อถือได้ รายละเอียดแนวทางการพิจารณา
แนวทางที่ 1 เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร (เครื่องหมาย Q)
แนวทางที่ 2 เครื่องหมายรับรองมาตรฐาน Organic Thailand’s Brand
แนวทางที่ 3 เครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)
แนวทางที่ 4 ตราส่งเสริมผลิตภัณฑ์จากฐานทรัพยากรชีวภาพ (Bio Economy)
แนวทางที่ 5 เครื่องหมายรับรองมาตรฐาน International Federation of Organic Agriculture Movements (IFOAM)
แนวทางที่ 6 การรับรองแบบมีส่วนร่วม (Participatory Guarantee Systems; PGS) และเครื่องหมายอื่นๆ โดยแสดงรายการฉลาก หรือการรับรองมาตรฐานที่เชื่อถือได้
ตัวอย่างรายชื่อซัพพลายเออร์ และแหล่งวัตถุดิบ ที่ใช้ในการประกอบอาหาร
สำนักกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
1. บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด
จำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องภายใต้ชื่อเทสโก้ โลตัส
2. บริษัท ทะเลไทย โอเชี่ยน ฟู้ด จำกัด
ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอาหารทะเลแช่แข็งทุกชนิด
3. บริษัท เจเอโอ ฟู๊ด เซอร์วิส จำกัด
ผู้ให้บริการการผลิตอาหาร OEM (Original Equipment Manufacturer) รับผลิตอาหารเสริมตามความต้องการของลูกค้า และเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายที่มีศักยภาพ คุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร โดยเราใส่ใจทุกขั้นตอน ตั้งแต่การสรรหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพ เพื่อผลิตอาหารให้ได้คุณภาพและความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
4. ห้างหุ้นส่วนจำกัด สงวนฟาร์ม
ฟาร์มไก่ไข่ “สงวนฟาร์ม” เป็นผู้บุกเบิกการเลี้ยงไก่ไข่ในประเทศไทยมากว่า 60 ปี ปัจจุบันผลิต และจำหน่ายไข่ไก่อยู่ที่ อ.หนองโดน จ.สระบุรี เราคัดสรรไก่ไข่สายพันธุ์พิเศษที่มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย และเลี้ยงดูด้วยอาหารสูตรเฉพาะซึ่งผลิตมาจากวัตถุดิบธรรมชาติ ปราศจากฮอร์โมน ยาปฏิชีวนะ และสารตกค้าง
5. ห้างหุ้นส่วนจำกัด สยามการไข่
ฟาร์มไข่ และจำหน่ายไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่เค็ม สดจากฟาร์ม
6. บริษัท นิญุตาวัตถุดิบสดแห้ง จำกัด
ประกอบกิจการซื้อ ขาย วัตถุดิบสดแห้ง เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ต่างๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
7. คุณสำเริง สุหร่ายพรหมและคุณเกศินี กลักวงศ์
ผู้ประกอบกิจการซื้อ ขาย วัตถุดิบสดแห้ง เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ต่างๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
(ที่มา https://dusitproduct.dusit.ac.th/2023/1752/)
ตัวอย่างแนวทางการเลือกใช้วัตถุดิบของโครงการอาหารกลางวัน 1
ตัวอย่างการเลือกซื้อวัตถุดิบให้ได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัยของสวนดุสิต โฮมเบเกอรี่
นอกจากนี้ในพื้นที่มหาวิทยาลัยยังมีการพัฒนาพื้นที่สีเขียวและมีการปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อนำผลผลิตมาใช้ในการประกอบอาหารในส่วนงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัย เช่น ในพื้นที่หอพักของศูนย์นครนายก ผ่านการจัด “โครงการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศในศตวรรษที่ 21 กิจกรรมที่ 5 สวนเกษตรปันสุข ณ หอพักนักศึกษา” โดยหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัยและสาขาประถมศึกษา นำนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทำกิจกรรมปลูกพืชผักสวนครัวตามที่วางแผนไว้ เช่น คะน้า ผักบุ้ง ต้นหอม ฯลฯ จากนั้นดูแลต้นฝรั่ง ด้วยการรดน้ำ พรวนดิน ถอนวัชพืช ณ บริเวณหอพักนักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา นครนายก
(https://www.dusit.ac.th/home/2023/1064449.html)
https://www.dusit.ac.th/home/2023/1091811.html/nggallery/page/1)