การดำเนินงานด้านการจัดการของเสียอันตรายของมหาวิทยาลัย ดำเนินงานอ้างอิงตามประกาศมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เรื่อง นโยบายการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พลังงานและทรัพยากรของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ข้อ 4 ส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารการจัดการ ปรับปรุง ป้องกัน และควบคุมมลพิษโดยการจัดการขยะ น้ำเสีย อากาศ สารเคมี และมลพิษอื่นๆ อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้มาตรฐานที่กำหนด ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 17 สิงหาคม 2560 (ที่มา https://green.dusit.ac.th/policies/ ) และได้มีการดำเนินงานต่อเนื่องผ่านการดำเนินงานตามนโยบายการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พลังงานและทรัพยากรของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2565 (ที่มา https://sduzerowaste.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/11/environmental-quality-management-policy-2565.pdf) โดยมีความเชื่อมโยงกับข้อ 3 มุ่งสร้างจิตสำนึก ให้ความรู้ ความเข้าใจ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักศึกษา บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดำเนินการตามหลักการ 3R คือ Reduce (ลดการใช้หรือใช้น้อยเท่าที่จำเป็น) Reuse (การใช้ซ้ำ) และ Recycle (แปรรูปมาใช้ใหม่) เพื่อลดปริมาณของเสียและของเสียอันตราย โดยเฉพาะการลดการใช้พลาสติกจากต้นทาง เป็นการลดภาระการกำจัดขั้นสุดท้าย และข้อ 6 ส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารการจัดการ ปรับปรุง ป้องกัน และควบคุมมลพิษโดยการจัดการของเสีย ของเสียอันตราย น้ำเสีย อากาศ สารเคมี และมลพิษอื่นๆ และให้ความสำคัญกับการนำกลับมาใช้ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้มาตรฐานที่กำหนด เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากการดำเนินงานที่กล่าวมานำไปสู่การส่งเสริมความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยตาม “ทิศทางมหาวิทยาลัยสวนดุสิต จิ๋วแต่แจ๋ว ฉบับทบทวน 2566-2567 (SDU Direction: Small But Smart Revised Version 2023-2024)” (ที่มา: https://www.dusit.ac.th/home/wp-content/uploads/2023/06/SDU_Directions66-67.pdf) โดยมี แนวปฏิบัติการจัดการของเสียและของเสียอันตราย เรื่อง การจัดการขยะ และการจัดการของเสียอันตราย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กำหนดไว้อย่างชัดเจน (ที่มา https://sduzerowaste.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/11/harzadouswaste-system.pdf) จากการกำหนดนโยบาย นำมาสู่การดำเนินงาน การจัดการขยะของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานอย่างบูรณาการร่วมกัน ซึ่งในปัจจุบันมีการขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) ในการจัดการขยะอันตราย มหาวิทยาลัยมีการแบ่งแยกย่อยออกเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์อีกประเภทหนึ่ง ปัจจุบันพื้นที่มหาวิทยาลัย วิทยาเขต และศูนย์การศึกษา มีการให้บริการจุดทิ้งขยะดังกล่าว โดยมีการรวบรวมจากจุดต่างๆ มายังจุดพักขยะ เพื่อส่งต่อให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นของแต่ละพื้นที่รับไปกำจัดต่อ
ภายในมหาวิทยาลัยได้มีการต่อยอดการดำเนินงานด้านการจัดการของเสียอันตราย โดยในปี 2566 ได้มีการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อเป็นการเสริมสร้างความตระหนักให้บุคลากร และนักศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมจากการทิ้งของเสียอันตรายอย่างไม่ถูกต้อง และส่งเสริมการแยกทิ้งของเสียอันตรายออกจากขยะทั่วไปโดยการจัดให้มีจุดทิ้งของเสียอันตรายภายในมหาวิทยาลัยสำหรับนำไปรีไซเคิลบำบัดหรือกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ทัั้งนี้ มหาวิทยาลัยได้ร่วมขับเคลื่อนการจัดการของเสียอันตรายและขยะอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา สมาคม ภาคเอกชน รวม 42 หน่วยงาน โดยร่วมลงนามประกาศเจตนารมณ์ “ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนในการเก็บรวบรวมของเสียอันตรายจากชุมชน” ของกรมควบคุมมลพิษ ตามนโยบายรัฐบาลที่ได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2565 – 2570) เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากจัดการที่ไม่ถูกต้อง มุ่งสร้างระบบการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่การสร้างองค์ความรู้ให้ตระหนักถึงปัญหา สร้างการมีส่วนร่วมไปจนถึงการสร้างกระบวนการจัดเก็บและรีไซเคิลแบบ Zero e-waste to landfill โดยกำหนดให้มีจุดทิ้ง
ที่ Cafe by HOME, One World Library และศูนย์วิทยาศาสตร์ อีกทั้งมีการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายภาครัฐและเอกชนผ่านโครงการ “คนไทยไร้ E-Waste” ของบริษัท AIS และ โครงการ “Green University ทิ้ง เทิร์น ให้โลกจำ” ที่สนับสนุนให้นักศึกษา และบุคลากรเข้าร่วมภารกิจเก็บขยะพลาสติกและทั้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านแอปพลิเคชัน E-Waste และขยะพลาสติกผ่าน GC YOU เทิร์น ลดปัญหาขยะพลาสติกอย่างครบวงจรสร้างคุณค่าจากพลาสติกใช้แล้ว และขยะ E-waste ของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC และบริษัท AIS
(https://www.dusit.ac.th/home/2023/1162449.html)
(https://www.dusit.ac.th/home/2023/1174652.html)
นอกจากนี้ในส่วนของของเสียอันตรายที่เกิดขึ้นภายในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ของคณะและหน่วยงานต่างๆ มีระบบในการรวบรวมและจัดส่งมากำจัดยังส่วนกลางของมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังได้มีการพัฒนาระบบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 และดำเนินการตามระบบการจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 โดยมหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (ESPReL) เพื่อส่งเสริมให้นักวิจัยเกิดความตระหนักเรื่องความปลอดภัย การสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้เกิดการพัฒนางานด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ (https://sdg.dusit.ac.th/2024/5839/)