การจัดการขยะพลาสติกของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต

การดำเนินงานด้านการจัดการขยะพลาสติกของมหาวิทยาลัย ดำเนินงานอ้างอิงตามประกาศมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เรื่อง นโยบายการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พลังงานและทรัพยากรของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ข้อ 4 ส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารการจัดการ ปรับปรุง ป้องกัน และควบคุมมลพิษโดยการจัดการขยะ น้ำเสีย อากาศ สารเคมี และมลพิษอื่นๆ อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้มาตรฐานที่กำหนด ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 17 สิงหาคม 2560 (ที่มา https://green.dusit.ac.th/policies/ ) และได้มีการดำเนินงานต่อเนื่องผ่านการดำเนินงานตามนโยบายการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พลังงานและทรัพยากรของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2565 (ที่มา https://sduzerowaste.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/11/environmental-quality-management-policy-2565.pdf) โดยมีความเชื่อมโยงกับข้อ 3 มุ่งสร้างจิตสำนึก ให้ความรู้ ความเข้าใจ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักศึกษา บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดำเนินการตามหลักการ 3R คือ Reduce (ลดการใช้หรือใช้น้อยเท่าที่จำเป็น) Reuse (การใช้ซ้ำ) และ Recycle (แปรรูปมาใช้ใหม่) เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติก โดยเฉพาะการลดการใช้พลาสติกจากต้นทาง เป็นการลดภาระการกำจัดขั้นสุดท้าย และข้อ 6 ส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารการจัดการ ปรับปรุง ป้องกัน และควบคุมมลพิษโดยการจัดการของเสีย ของเสียอันตราย น้ำเสีย อากาศ สารเคมี และมลพิษอื่นๆ และให้ความสำคัญกับการนำกลับมาใช้ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้มาตรฐานที่กำหนด เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากการดำเนินงานที่กล่าวมานำไปสู่การส่งเสริมความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยตาม “ทิศทางมหาวิทยาลัยสวนดุสิต จิ๋วแต่แจ๋ว ฉบับทบทวน 2566-2567 (SDU Direction: Small But Smart Revised Version 2023-2024)” (ที่มา: https://www.dusit.ac.th/home/wp-content/uploads/2023/06/SDU_Directions66-67.pdf) โดยมี แนวปฏิบัติการจัดการของเสียและของเสียอันตราย เรื่อง การลดขยะปริมาณการใช้พลาสติก มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กำหนดไว้อย่างชัดเจน (ที่มา https://sduzerowaste.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/11/reducing-plastic.pdf )

การพัฒนาระบบการจัดการขยะของมหาวิทยาลัยภายใต้แนวคิดของเสียเหลือศูนย์ (Zero waste) นั้น เริ่มจากการจัดการขยะในภาพรวมของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต มีการดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานอย่างบูรณาการร่วมกัน ซึ่งในปัจจุบันมีการขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) โดยมีกรอบระยะเวลาการดำเนินงาน ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2559-ปัจจุบัน การพัฒนาระบบสนับสนุนการลดการเกิดขยะ มีการใช้กระบวนการ 3Rs การลดการใช้ (Reduce) การนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) มาใช้ โดยเริ่มจากการพัฒนาระบบการจัดการขยะรีไซเคิล เช่น การติดตั้งถังขยะแบบแยกประเภท และการติดตั้งจุดพักขยะรีไซเคิลประเภทต่างๆ พร้อมทั้งดำเนินการประชาสัมพันธ์ และรณรงค์อย่างต่อเนื่อง

ในการจัดการขยะพลาสติกนั้น ต่อมาได้มีการ kick-off การดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมผ่านโครงการเปลี่ยนพลาสติกเป็นบุญ (เมื่อคุณหมุนเวียน) โดย ปี 25654 ผู้แทนมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เข้ารับมอบชุดสำหรับจุดรับพลาสติก (plastic drop point) ในโครงการดังกล่าวจากอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการขยะพลาสติกอย่างครบวงจรภายในมหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขต และศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นรูปธรรม และภายหลังการรับมอบอุปกรณ์ ได้มีการจัดกิจกรรม kick-off เปิดตัวโครงการเปลี่ยนพลาสติกเป็นบุญ (เมื่อคุณหมุนเวียน) by SDU ของศูนย์วิทยาศาสตร์ โดยมีตัวแทนผู้บริหารแสดงเจตจำนงร่วมกันในการจัดการขยะพลาสติก
(https://mgronline.com/qol/detail/9640000031610)
(https://www.dusit.ac.th/home/2021/882308.html)
(https://arit.dusit.ac.th/greenlibrary/plastic-replacement-project) (https://president.dusit.ac.th/main/5110)

โครงการพลาสติกแบงก์ (Plastic Bank)

ภายในงาน kick-off ยังได้มีการเปิดตัวโครงการพลาสติกแบงก์ (Plastic Bank) ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต (24 มีนาคม 2564) ซึ่งภายใต้โครงการได้มีการออกบูธรับบริจาคพลาสติกทั้งชนิดแข็ง และชนิดอ่อน เพื่อรวบรวมและส่งต่อไปแปรรูปวนกลับมาใช้ประโยชน์ผ่านหน่วยงานเครือข่ายพันธมิตร โดยในช่วงแรกเปิดให้บริการเฉพาะในพื้นที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ ถนนสิรินธร ต่อมาได้ขยายมายังพื้นที่มหาวิทยาลัย โดยในปี 2566 เปิดรับบริจาคที่ศูนย์วิทยาศาสตร์เดือนละ 2 ครั้ง และมหาวิทยาลัยเดือนละ 1 ครั้ง ภายใต้โครงการมีระบบการรับสมัครสมาชิก การสะสมแต้มเพื่อแลกรับสินค้าอุปโภคบริโภค ปีละ 2 ครั้ง และที่สำคัญการดำเนินการโครงการดังกล่าวได้ก่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือของหน่วยงาน นักศึกษา และบุคลากรในการส่งต่อพลาสติก โดยเฉพาะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งทดแทนการส่งไปกำจัดยังหลุมฝังกลบ โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยออกบูธรับบริจาคพลาสติกรวม 72 ครั้ง ได้รับการบริจาคขยะพลาสติกรวม 2,792.8 กิโลกรัม (นับจากเริ่มโครงการ) และมีการส่งต่อไปใช้ประโยชน์ 34 ครั้ง รวม 2,576.4 กิโลกรัม  

โครงการ Green University ทิ้งเทิร์นให้โลกจำ

มหาวิทยาลัยสวนดุสิตภายใต้การดำเนินงานของทีมจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมและศูนย์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เข้าร่วมโครงการ Green University ทิ้งเทิร์นให้โลกจำ ของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC และบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS โดยโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ และนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลและการกำจัดอย่างถูกวิธี อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายคนรุ่นใหม่และมหาวิทยาลัยที่ขับเคลื่อนเรื่องสิ่งแวดล้อม ตลอดจนลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการอีก 10 แห่ง  การดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการเริ่มตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม – 22 ตุลาคม 2566 โดยที่ผ่านมาตัวแทนมหาวิทยาลัยสวนดุสิตได้เข้าร่วมพิธีเปิดตัวโครงการ “Green University ทิ้ง เทิร์น ให้โลกจำ” การเยี่ยมชมโรงงานเอ็นวิคโค (ENVICCO) โรงงานผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง ระดับ food grade เพื่อศึกษากระบวนการแปรรูปพลาสติกใช้แล้วประเภทบรรจุภัณฑ์ และมีการเยี่ยมชมอาคารนิทรรศน์พฤกษา บ. พีทีที แอลเอ็นจี จก. ชมดอกไม้เมืองหนาวที่ปลูกด้วยพลังงานความเย็นที่เหลือจากการแปรสภาพก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG)
(https://www.dusit.ac.th/home/2023/1123848.html)

มหาวิทยาลัยมีตัวแทนนักศึกษาเอเจ้นท์สำหรับร่วมดำเนินกิจกรรมรณรงค์ในกลุ่มนักศึกษา อีกทั้งมีการติดตั้งจุดรับบริจาคขวดพลาสติกใสที่สะอาด จำนวน 3 พื้นที่ ได้แก่ จุดที่ 1 Co-working space อาคาร 32 จุดที่ 2 หน้าอาคาร 11 จุดที่ 3 หน้าอาคารพอพักหญิง ศูนย์วิทยาศาสตร์ ถนนสิรินธร และรับผ่านโครงการพลาสติกแบงค์ ของศูนย์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทุกวันพุธแรกของเดือนในมหาวิทยาลัย และทุกวันที่ 1 และ 15 ของเดือนในศูนย์วิทยาศาสตร์ ถนนสิรินธร สำหรับการรับกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์นั้น มีการติดตั้งจุดรับบริจาคจำนวน 3 พื้นที่ ได้แก่ จุดที่ 1 โฮมเบเกอรี่ จุดที่ 2 คาเฟ่บายโฮม จุดที่ 3 ลานเอนกประสงค์ อาคาร 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ อีกทั้งสามารถส่งผ่านโครงการพลาสติกแบงก์ตามรอบการรับบริจาคอีกช่องทางหนึ่ง โดยมหาวิทยาลัยมีการร่วมกิจกรรมส่งต่อขวดพลาสติกใสที่คัดแยกไปร่วมโครงการ 653.3 กิโลกรัม และส่งต่อขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปกำจัดผ่านบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด รวม 339 ชิ้น (79.0 กิโลกรัม)

สรุปข้อมูลการรวบรวมและส่งต่อขยะขวดพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าร่วมโครงการ

เมื่อสิ้นสุดโครงการผู้แทนมหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมกิจกรรม “GC Sustainable Living Symposium 2023: WE ARE GEN S” จัดโดย บริษัทพีทีที โกลบอล เคมิคอล จากัด (มหาชน) หรือ GC เพื่อรับมอบรางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ 2 จากการเข้าร่วมโครงการ (https://www.dusit.ac.th/home/2023/1173883.html)