การดำเนินงานด้านการลดของเสีย โดยเฉพาะขยะใช้แล้วทิ้งของมหาวิทยาลัย ในมิติที่ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อุปทานซึ่งครอบคลุมไปถึงหน่วยงาน outsource และ supply chain เช่น กลุ่มแม่บ้าน และพนักงานรักษาความปลอดภัย มหาวิทยาลัยมีการดำเนินงานอ้างอิงตามประกาศมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เรื่อง นโยบายการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พลังงานและทรัพยากรของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2565 โดยมีความเชื่อมโยงกับข้อ 3 มุ่งสร้างจิตสำนึก ให้ความรู้ ความเข้าใจ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักศึกษา บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดำเนินการตามหลักการ 3R คือ Reduce (ลดการใช้หรือใช้น้อยเท่าที่จำเป็น) Reuse (การใช้ซ้ำ) และ Recycle (แปรรูปมาใช้ใหม่) เพื่อลดปริมาณของเสียและของเสียอันตราย โดยเฉพาะการลดการใช้พลาสติกจากต้นทาง เป็นการลดภาระการกำจัดขั้นสุดท้าย และข้อ 6 ส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารการจัดการ ปรับปรุง ป้องกัน และควบคุมมลพิษโดยการจัดการของเสีย ของเสียอันตราย น้ำเสีย อากาศ สารเคมี และมลพิษอื่นๆ และให้ความสำคัญกับการนำกลับมาใช้ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้มาตรฐานที่กำหนด เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (ที่มา https://sduzerowaste.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/11/environmental-quality-management-policy-2565.pdf) อีกทั้งยังเป็นการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติการจัดการขยายการบริการภายนอก และห่วงโซ่ การลดของเสียที่ขยายสู่ผู้ขายของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต (https://sduzerowaste.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/11/supplier-system.pdf) ประกอบกับเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติสำนักงานสีเขียว (Green Office) ที่หน่วยงานในหลายพื้นที่ได้นำไปประยุกต์ใช้ยังในหน่วยงานของตนเอง ในหมวดที่ 6 การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว โดยในประเด็นนี้จะเชื่อมโยงกับเรื่องการจัดจ้างสีเขียว ซึ่งการจัดจ้างหน่วยงานหรือบุคคลที่ภายนอกที่มาดำเนินงานในมหาวิทยาลัย จะต้องมีการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีกรอบการดำเนินงาน (สำหรับหน่วยงานที่มีการประยุกต์ใช้ระบบสำนักงานสีเขียว) อาทิเช่น
1) มีหลักฐานการพิจารณาถึงมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานที่จะจัดจ้าง หากหน่วยงานไม่มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมรับรอง หน่วยงานที่จะจัดจ้างในมหาวิทยาลัยจะต้องทำการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานที่จะเข้ามาดำเนินการในเบื้องต้น
2) มีการจัดทำสัญญาหรือข้อตกลงด้านการจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เมื่อเข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่มหาวิทยาลัย
3) หน่วยงานหรือบุคคลที่ได้รับคัดเลือกจะต้องได้รับการอบรมหรือสื่อสารเกี่ยวกับสำนักงานสีเขียว และแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมนั้นๆ อีกทั้งสามารถอธิบายแนวทางในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของตนได้
ศูนย์วิทยาศาสตร์ ม.สวนดุสิต ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ในโอกาสศึกษาดูงานสำนักงานสีเขียว Green Office ของศูนย์วิทยาศาสตร์
ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้แก่ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนการเรือน ศูนย์สิ่งแวดล้อม ศูนย์เครื่องมือปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ สำนักงานบริการอาคารวิทยาศาสตร์ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในโอกาสมาศึกษาดูงานสำนักงานสีเขียว Green Office ของศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกอบด้วยภาพรวมเกี่ยวกับนโยบายของมหาวิทยาลัยฯ ในการขับเคลื่อนให้เป็น Green & Clean University ความสำคัญและวัตถุประสงค์โครงการสำนักงานสีเขียว ศูนย์วิทยาศาสตร์ การดำเนินงานหมวดที่ 1-6 และแนวปฏิบัติที่ดีของสำนักงาน อีกทั้งเยี่ยมชมการเตรียมความพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน การจัดการพื้นที่สีเขียว และการจัดการขยะ ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม 2566