การขับเคลื่อนเรื่องการลดก๊าซเรือนกระจกของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต

มหาวิทยาลัยมีการดำเนินกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการลดก๊าซเรือนกระจกในมหาวิทยาลัย ทั้งในส่วนของวิทยาเขต และศูนย์การศึกษาในการแก้ปัญหา Climate Change เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายใต้นโยบายการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พลังงานและทรัพยากร ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ข้อ 8 ด้านการส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหาร การจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยลดการปล่อยการเรือนกระจกจากกิจกรรมในมหาวิทยาลัย (https://sdg.dusit.ac.th/2023/3190/) ในแหล่งกำเนิดประเภทที่ 2 ด้านการจัดการพลังงาน จำนวน 3 กิจกรรม และแหล่งกำเนิดประเภทที่ 3 ด้านการจัดการของเสีย จำนวน 33 กิจกรรม สามารถลดก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นได้จากปี 2565

1. การลดก๊าซเรือนกระจกจากการลดใช้พลังงานไฟฟ้า

          มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูง โดยมีการปรับเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศทดแทนเครื่องรุ่นเก่าที่มีอายุการใช้งานนาน และปรับเปลี่ยนหลอดไฟ สำหรับผลของการลดก๊าซเรือนกระจก ในที่นี้จะใช้ข้อมูลเฉพาะส่วนที่มีการยื่นขอการรับรองกิจกรรมที่สนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme, LESS) ด้านพลังงานจากทางองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) จำนวน 3 กิจกรรม โดยสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 12.092 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

2. การลดก๊าซเรือนกระจกการคัดแยกขยะที่แหล่งกำเนิด

          มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมีการคัดแยกขยะรีไซเคิลในหน่วยงานต่างๆ ที่ได้เข้าร่วมโครงการคัดแยกขยะ โดยเฉพาะการต่อยอดเพื่อขอการรับรองกิจกรรมที่สนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก (LESS) ด้านของเสียของ อบก. โดยสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ 21.896 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า จากการดำเนินกิจกรรมจำนวน 33 กิจกรรม

3.  กิจกรรมปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน 60 Earth Hour ของสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร