มหาวิทยาลัยสวนดุสิตกับการสนับสนุนเชิงนโยบายเพื่อการขจัดความยากจนในสังคม

ความยากจนเป็นปัญหาสังคมที่ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถก้าวผ่านกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาไปสู่ประเทศพัฒนาแล้วได้โดยง่าย สหประชาชาติ (United Nations) ได้ให้คำนิยามความยากจนว่าเป็นการปราศจากทางเลือกและโอกาสและการไม่มีเกียรติในความเป็นมนุษย์ รวมถึงการขาดความสามารถในการเข้าร่วมทางสังคม ไม่สามารถเลี้ยงครอบครัว ไม่ได้เรียนหนังสือ ไม่สามารถไปรับการรักษาเมื่อเจ็บป่วย ไม่มีที่ดินทำกิน ไม่มีงาน ไม่มีความปลอดภัย ถูกกีดกันทางสังคม อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี ขาดการเข้าถึงน้ำสะอาด และสาธารณสุขที่ดี ในขณะที่ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme : UNDP) มองว่าความยากจน คือการขาดโอกาส ขาดทางเลือกในการมีความเป็นอยู่ที่ดี มีสุขภาพอนามัยที่ดี รวมถึงการขาดเสรีภาพ และการ เคารพในตนเองและผู้อื่น ส่วนธนาคารโลก (World Bank) ได้นิยามความยากจนว่าเป็นการมีทรัพยากรไม่เพียงพอ ทำให้อำนาจในการต่อรองลดลง

มหาวิทยาลัยสวนดุสิตเป็นมหาวิทยาลัยเชิงพื้นที่ มีพันธกิจสำคัญในการส่งเสริมสังคมทั้งในด้านการศึกษา อาชีพ และความเป็นอยู่ของคนในสังคม เพื่อให้สามารถก้าวผ่านความยากจนและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2565 ได้ดำเนินส่งเสริมสนับสนุนการขจัดปัญหาความยากจนผ่านเครือข่ายศูนย์การศึกษาในพื้นที่และคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในระดับต่าง ๆ ดังนี้

ระดับท้องถิ่น

ศูนย์การศึกษา ตรัง ได้ร่วมจัดทำแผนควบคุมมาตรฐานการท่องที่ยวของพื้นที่ วันที่ ณ อ.ย่านตาขาว อ.ปะเหลียน จ.ตรัง และ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ ภายใต้โครงการพัฒนากำลังคนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อรองรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวชายฝั่งวิถีใหม่ (Coastal Tourism) โดยแผนดังกล่าวจะถูกใช้เป็นเครื่องมือให้ชุมชนส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้ โดยการท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญในการสร้างและกระจายรายได้ให้คนในท้องถิ่น (https://www.dusit.ac.th/home/2022/997703.html) (วันที่ 17-20 สิงหาคม 2565)

ศูนย์การศึกษา ลำปาง ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำแผนพัฒนาเด็กปฐมวัยจังหวัดลำปาง ซึ่งจัดโดยคณะอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยจังหวัดลำปางและภาคีเครือข่าย ในวันที่ วันที่ 6 พฤษภาคม 2565 เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับการดูแลอย่างถูกต้องเหมาะสม นำมาซึ่งสังคมคุณภาพต่อไปในอนาคต (https://www.dusit.ac.th/home/2022/967307.html )

ระดับชาติ

ศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประชุมร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อเสนอแนะในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการปีงบประมาณ 2566 – 2570 ของเขตพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศไทยจำนวน 15 เขต ตามสัญญาความร่วมมือ (TOR) ระหว่างศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์ ม.สวนดุสิต กับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ตามที่ทราบกันดีว่าการท่องเที่ยวได้เป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ปัญหาความยากจนของประเทศไทยมาอย่างยาวนาน  วันที่ 26 และ 27 พฤษภาคม และวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2565  (https://www.dusit.ac.th/home/2022/981200.html)

ระดับนานาชาติ

– มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้มอบหมายให้ ผศ.ดร.อังค์ริสา แสงจำนงค์ เข้าร่วม เป็นสมาชิกเครือข่ายการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบมีความรับผิดชอบต่อสังคม (Responsible Tourism) ภายใต้หน่วยงาน REBORN (Responsible Borneo)  ซาราวัก มาเลเซีย  ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐด้านการท่องเที่ยวของประเทศมาเลเซีย REBORN มีพันธกิจสำคัญที่มุ่งส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบมีความรับผิดชอบต่อสังคม สังคมได้รับประโยชน์สูงสุด และไม่มีใครถูกทอดทิ้งละเลย ความยากจนหรือคนด้อยโอกาส หรือสังคมที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงจึงเป็นเป้าหมายสำคัญของโครงการนี้

         Responsible Tourism Blueprint for Tourism and Hospitality Industry in Sarawak มีพื้นฐานมาจากการพัฒนาอย่างยั่งยืน SDGs เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการยกระดับสู่การพัฒนาเป็นรูปแบบการส่งเสริมการท่องเที่ยวในภาพรวมต่อไป โดยได้มีการนำแนวทางการพัฒนา Responsible Tourism Model เข้ารับการรับรองและสนับสนุนภายใต้ UNWTO แล้ว การดำเนินงานของ REBORN ได้มีการพัฒนาเครือข่ายกิจกรรมขึ้นเป็นจำนวนมาก ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ได้แก่  
         (1) SEARA (South East Asia Research Academy แพลตฟอร์มนี้เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยได้รวบรวมเอาภาคีสมาชิก จากประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่ง ผศ.ดร.อังค์ริสา แสงจำนงค์ ได้เป็นคณะทำงานภายใต้แพลตฟอร์มนี้ด้วย (https://www.searanetwork.org/committee ) 
         (2) ICRTH (International Conference on Responsible Tourism and Hospitality) เป็นจัดประชุมระดับนานาชาติ โดยในปี 2022 จัดขึ้นที่ Sarawak, Malaysia ผศ.ดร.อังค์ริสา แสงจำนงค์ ได้เข้าร่วมเป็น Scientific Committee และ Co-Instructor และ Session Share
         (https://www.responsibleborneo.com/conferencecommitteeicrth2022)  
         (3) RYL (Responsible Youth Leader) มุ่งเน้นการส่งเสริมความรับผิดชอบไปยังเยาวชน โดยมีการเปิดแพลตฟอร์มสำหรับเยาวชน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบต่อสังคม โดยได้มีการเอานักศึกษาของมหาวิทยาลัยสวนดุสิตเข้าร่วมแพลตฟอร์มนี้