ความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกเพื่อการพัฒนาศักยภาพให้แก่นักศึกษาและบุคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ

1.องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF ประเทศไทย)

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)
เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
เป้าหมายย่อยที่ 15.5 ยุติการล่าและขนย้ายพันธุ์พืชและสัตว์คุ้มครองอย่างผิดกฎหมาย
เป้าหมายย่อย 15.7 ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อจะยุติการล่าและการขนย้ายชนิดพันธุ์พืชและสัตว์คุ้มครอง และแก้ปัญหาทั้งอุปสงค์และอุปทานต่อผลิตภัณฑ์สัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย
เป้าหมายย่อย 15.c เพิ่มพูนการสนับสนุนในระดับโลกแก่ความพยายามที่จะต่อสู้กับการล่า การเคลื่อนย้ายชนิดพันธุ์คุ้มครอง รวมถึงโดยการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่น

องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF ประเทศไทย) ก่อตั้งปี พ.ศ. 2504 องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ WWF Thailand ทำงานอนุรักษ์กว่า 12,000 โครงการเพื่อคงรักษาและสร้างสมดุลการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติอย่างยั่งยืน ปัจจุบัน WWF เติบโตเป็นองค์กรอนุรักษ์ที่มีเครือข่ายมากที่สุดในโลก มีพันธกิจ คือการอนุรักษ์ไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพของโลก โดยการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ตั้งแต่มหาสมุทร ทรัพยากรบนแผ่นดิน การอนุรักษ์สัตว์ป่า การบริโภคอย่างยั่งยืน การหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการจัดการทรัพยากรน้ำจืด

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2565

โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาศักยภาพให้แก่นักศึกษาและบุคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ ด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ระหว่างโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กับองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF ประเทศไทย) ได้รับเกียรติจาก Dr. Mike Roy Conservation, Director of World Wide Fund for Nature International: WWF ลงนามร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์มาดา วิชาศิลป์ คณบดีโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารสำนักงาน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

2.สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (สทอ.)

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)
เป้าหมายที่ 8ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน
เป้าหมายที่ 12สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ 13เร่งต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น
เป้าหมายที่ 15ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟิ้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

          สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (สทอ.) หรือ Thai Ecotourism And Adventure Travel Association (TEATA) เป็นการรวมตัวของผู้ประกอบการท่องเที่ยวหัวใจสีเขียวทั้งบริษัทนำเที่ยว ที่พัก ชุมชนและผู้เชี่ยวชาญด้านกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและผจญภัยต่างๆ โดยการสร้างเครือข่ายกับภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมทั้งไทยและต่างประเทศ เพื่อผลักดับการอนุรักษ์ระบบนิเวศ (Ecosystem) การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism) ช่วง 10ปีแรก ทางสมาคมได้พัฒนา ยกระดับมาตรฐานวิชาชีพเน้นด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย 10 ปีต่อมา ช่วงแห่งการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนยกระดับมาตรฐานสู่สากล นำร่องพัฒนา “มาตรฐานและเส้นทางท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” โดยอิงเกณฑ์ของ Global Sustainable Tourism Council (GSTC) และการใช้แนวคิดท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำทศวรรษที่ 3 เป้าหมายมุ่งสู่ “การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์”และการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างสร้างสรรค์เพื่อสร้างความยั่งยืนในระดับที่เข้มข้นมากขึ้น

วันที่ 29 กันยายน 2564

การลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาศักยภาพให้แก่นักศึกษา หรือกำลังแรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการด้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม ระหว่าง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กับ สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และผจญภัย (สทอ.) หรือ TEATA เป็นการสร้างเครือข่ายทางการศึกษา เพื่อสอดรับกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ ที่ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยวในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กล่าวคือ ‘THM : Tourism and Hospitality Educational Excellence for the Social Differences’ ความเป็นเลิศทางการศึกษาด้านการท่องเที่ยวและการบริการเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยครอบคลุมถึงการพัฒนาศักยภาพทั้งความรู้ ทักษะ และทัศนคดิ รวมไปถึงกลุ่มเยาวชน นักศึกษา บุคลากรสายวิชาการ และบุคลากร ด้านการท่องเที่ยวและการบริการในอุตสาหกรรม ให้สามารถวางแผนการบริหารจัดการ การออกแบบกิจกรรมและประสบการณ์การท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ และ มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมตามหลักการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยผศ.ดร.พิมพ์มาดา วิชาศิลป์ คณบดีโรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ ได้กล่าวต้อนรับสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.สุวมาลย์ ม่วงประเสริฐ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และ คุณวสุมน เนตรกิจเจริญ นายกสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย กล่าวแนะนำสมาคมและลงนามความร่วมมือ ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

วันที่ 27-29 ธันวาคม 2565 และและระหว่างวันที่ 3-5 มกราคม 2566

โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่วมกับ สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (สทอ.) ได้ร่วมกันอบรมเชิงปฏิบัติการในหลากหลายหัวข้อ ได่แก่ “การจัดการนวัตกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศชีวภาพเพื่อการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ การออกแบบเส้นทางและกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ความปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว: การดูสภาพธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลง/ การหลงป่า/ น้ำป่า คาร์บอนบาลานซ์สำหรับธุรกิจลานกางเต็นท์ ภูมิสถาปัตยกรรมกับการจัดการพื้นที่ลานกางเต็นท์ กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี” โดยมี ทีมวิทยากรจากสมาคมฯ นำโดยคุณฤกษ์ เชาวนะกวี คุณนิพันธ์พงษ์ ชวนชื่น คุณนันทพล ไข่มุกด์ คุณทานตะวัน เขียวน้ำชุ่ม คุณเกียรติศักด์ิ กล่อมสกุล ว่าที่ร้อยเอก อินทนนท์ นักสอน คุณสำพันธ์ ขุนราช