Food Policy, Green and Clean Univesity 2023

มหาวิทยาลัยสวนดุสิตมีนโยบายด้านอาหารโดยได้ใช้แนวทางปฏิบัติตามกฎกระทรวง สุขลักษณะของสถานที่จําหน่ายอาหาร พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยสถานที่จำหน่ายอาหารทั้ง 13 แห่ง มีการดำเนินงานสอดคล้องกันในการปฏิบัติตามกฎหมายสุขาภิบาลอาหาร นอกจากนี้ยังได้มีการพิจารณาแหล่งที่มาของอาหารเพื่อใช้ประกอบอาหารได้ถูกหลักสุขาภิบาล ปี 2564 และปี 2565 ตามแนวทางที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการประชาสัมพันธ์ไว้

กลยุทธ์ในด้านสภาพแวดล้อม (Green & Clean University) และมุ่งเน้นการจัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมพัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่สวยงาม สะอาด ปลอดภัย ส่งเสริมการลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน การลดการใช้ขยะพลาสติก มีระบบการจัดการขยะ และการกำจัดขยะที่มีประสิทธิภาพ และเป็นการหมุนเวียนขยะพลาสติกไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมด้วยหลักการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า การลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการติดตามปริมาณขยะทั้งหมด/ปริมาณขยะรีไซเคิล/ปริมาณขยะที่นำไปฝังกลบ ปี 2565 ซึ่งดำเนินการเก็บข้อมูลเป็นประจำทุกเดือนของหน่วยงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย และศูนย์ฯวิทยาศาสตร์ วิทยาเขตสุพรรณบุรี ศูนย์การศึกษา ลำปาง ศูนย์การศึกษา นครนายก ศูนย์การศึกษา หัวหิน และศูนย์การศึกษา ตรัง มีปริมาณขยะที่เกิดขึ้นรวมทั้งหมดตั้งแต่เดือน มกราคม – ธันวาคม 2565 เท่ากับ 84.48 ตัน ปริมาณขยะรีไซเคิล เท่ากับ 42.43 ตัน ซึ่งประกอบด้วยขยะเศษอาหาร จำนวน 28.80 ตัน คิดเป็นร้อยละ 67.87 ซึ่งนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์ ขยะที่นำไปฝังกลบ 42.05 ตัน สัดส่วนของขยะรีไซเคิลคิดเป็นร้อยละ 50.22 จากปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด  

โดยในมหาวิทยาลัยมีปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด เท่ากับ  44.28 ตัน ปริมาณขยะรีไซเคิล เท่ากับ 24.89 ตัน ขยะที่นำไปฝังกลบ 19.39 ตัน สัดส่วนของขยะรีไซเคิลคิดเป็นร้อยละ 56.20 จากปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด

ศูนย์ฯวิทยาศาสตร์ มีปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด เท่ากับ 19.89 ตัน  ปริมาณขยะรีไซเคิล เท่ากับ  11.32 ตัน ขยะที่นำไปฝังกลบ 8.57 ตัน สัดส่วนของขยะรีไซเคิลคิดเป็นร้อยละ 56.91 จากปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด

วิทยาเขตสุพรรณบุรี มีปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด เท่ากับ 2.49 ตัน ปริมาณขยะรีไซเคิล เท่ากับ 1.27 ตัน ขยะที่นำไปฝังกลบ 1.22 ตัน สัดส่วนของขยะรีไซเคิลคิดเป็นร้อยละ  51.01 จากปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด 

ศูนย์การศึกษา นครนายก มีปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด เท่ากับ 3.63 ตัน ปริมาณขยะรีไซเคิล เท่ากับ 2.12 ตัน ขยะที่นำไปฝังกลบ 1.51 ตัน สัดส่วนของขยะรีไซเคิลคิดเป็นร้อยละ 58.35 จากปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด

ศูนย์การศึกษา ลำปาง มีปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด เท่ากับ 0.55 ตัน ปริมาณขยะรีไซเคิล เท่ากับ 0.29 ตัน ขยะที่นำไปฝังกลบ 0.26 ตัน  สัดส่วนของขยะรีไซเคิลคิดเป็นร้อยละ 53.01 จากปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด

ศูนย์การศึกษา หัวหิน มีปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด เท่ากับ 1.47 ปริมาณขยะรีไซเคิล เท่ากับ 0.43 ตัน ขยะที่นำไปฝังกลบ 1.04 ตัน สัดส่วนของขยะรีไซเคิลคิดเป็นร้อยละ 29.27 จากปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด

ศูนย์การศึกษา ตรัง มีปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด เท่ากับ 12.18 ตัน ปริมาณขยะรีไซเคิล เท่ากับ 2.12 ขยะที่นำไปฝังกลบ 10.06 ตัน สัดส่วนของขยะรีไซเคิลคิดเป็นร้อยละ 17.44

โดยในปี 2565 นี้ได้มีการกำหนดค่าเป้าหมายการเพิ่มร้อยละของสัดส่วนของขยะรีไซเคิลเป็นร้อยละ 50 และลดปริมาณขยะที่นำไปฝังกลบให้ไม่เกินร้อยละ 50 โดยได้มีการประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้เป็นไปตามนโยบายของมหาวิทยาลัย ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย จึงสามารถทำให้การลดปริมาณขยะเป็นตามเป้าหมายที่กำหนด (กราฟปริมาณขยะที่เกิดขึ้นปริมาณขยะทั้งหมด/ ปริมาณขยะรีไซเคิล/ ปริมาณขยะที่นำไปฝังกลบเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายปี 2565)

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จึงมีนโยบายการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พลังงานและทรัพยากร เพื่อมุ่งมั่นในการดูแลและรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม พลังงานและทรัพยากรของมหาวิทยาลัย เพื่อความยั่งยืนอันนำไปสู่สิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ภารกิจการวิจัย การปฏิบัติงานที่ปลอดภัยและรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งการจัดการขยะและของเสียอันตรายด้านการฝังกลบและรีไซเคิลการลดปริมาณขยะและการใช้พลาสติกการทิ้งขยะ (Single Use) โดยมุ่งเน้นการสร้างจิตสำนึก ให้ความรู้ ความเข้าใจ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักศึกษาและบุคลากรตามหลัก 3R การบำบัดน้ำเสีย อากาศ สารเคมีและมลพิษอื่น พลังงาน เพื่อบริหารจัดการ ปรับปรุง ป้องกัน และควบคุมมลพิษ อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้มาตรฐานที่กำหนด โดยการขยายสู่ผู้ขาย ผู้มารับบริการและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ในการลดของเสีย การรักษาพื้นที่สีเขียว การลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงนโยบายด้านอาหารมีการปฏิบัติในการขออนุญาตตามสถานที่ผลิตอาหารภายในมหาวิทยาลัยทั้ง 13 แห่ง ในการปฏิบัติตามกฎหมายสุขาภิบาลอาหาร ประกอบด้วยการพิจารณาแหล่งที่มาของอาหารเพื่อใช้ประกอบอาหารได้ถูกหลักสุขาภิบาลและการลดปริมาณของเสียจากการผลิตอาหารและนำไปสู่การนำกลับมาใช้ใหม่อย่างยั่งยืน

โดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต มีการจัดทำรายงานสิ่งแวดล้อม พลังงานและทรัพยากรของมหาวิทยาลัย เป็นประจำทุกปี คือ รายงานการสิ่งแวดล้อม พลังงานและทรัพยากร ปี 2565

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรอนามัยสิ่งแวดล้อมและสาธารณภัย
จึงจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning โดยวิธีการกำหนดโจทย์ปัญหา (Problem-Based Learning) ตามแนวทางนโยบายการจัดการเรียนการสอนตามความหลากหลายทางการศึกษา ด้านสิ่งแวดล้อมที่นักศึกษาสนใจหรือพบในชีวิตประจำวันที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทเรียนและสอดคล้องกับอัตลักษณ์ความเป็นสวนดุสิต เพื่อให้นักศึกษานำความรู้ ความสามารถที่ได้เรียนมาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น มีการทดลองปฏิบัติจริง และมีทักษะทางด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสื่อสารทางด้านสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี จึงเป็นเยาวชนของประเทศที่มีคุณภาพ และมีทักษะในศตวรรษที่ 21 สามารถสร้างทักษะ และเพิ่มมูลค่าให้ตนเอง ชุมชน สังคม และประเทศ ภายใต้ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้รับรางวัล คือ รับโล่รางวัลระดับทอง ซึ่งมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 1 มีนาคม 2566 ภายใต้โครงการ Green & Clean University โดยได้รับรางวัลจากผลงานที่ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมในโครงการการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้ในปัจจุบันได้รับรางวัลเยาวชนดีเด่นกรุงเทพมหานคร (ประกายเพชร) จากกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 18 ประจำปี 2566 ประเภทกลุ่ม ที่มีผลงานและความสามารถกิจกรรม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผลงานในการส่งเสริม การอนุรักษ์ การพัฒนา การป้องกันและการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย และรวมถึงโครงการอื่น ๆ เช่น กิจกรรมการลดการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง พร้อมการนำกลับมาใช้ใหม่เพื่อยืดอายุการกำจัด แล้วคำนวณเป็นปริมาณน้ำหนักพลาสติกที่สามารถลดได้ และลดการปนเปื้อนลงสู่ทะเลไทย พร้อมกับคำนวณเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่สามารถลดได้จากการลดการใช้และนำกลับมาใช้ใหม่ โดยได้ทำกิจกรรมร่วมกันใน 1 ภาคการเรียน (4 เดือน คือ สิงหาคม – พฤศจิกายน 2565) ร่วมกันของสมาชิกชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และผู้สนใจทั่วไป สามารถลดปริมาณน้ำหนักพลาสติกได้ 45 กิโลกรัม ปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ 440 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต