การดำเนินงานด้านการรวมความหลากหลายทางชีวภาพท้องถิ่นในการวางแผนและการพัฒนาของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เช่น การก่อสร้างอาคารใหม่ การปรับปรุงภูมิทัศน์ การพัฒนาพื้นที่ใช้สอย การวางผังแม่บทและการออกแบบระบบสาธารณูปโภค โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาระบบนิเวศดั้งเดิม ป้องกันผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตท้องถิ่น ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนาและการอนุรักษ์ มหาวิทยาลัยมีการดำเนินงานตามกรอบแผนแม่บท ระยะ 5 ปีที่เจ็ด (1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2569) ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองพระราชดำริ โดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต (ที่มา https://sdg.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/10/15.3.3.1.pdf และ https://www.rspg.or.th/rspg_co_agencies/g5/27_SDU/MP_SDU.pdf)
เมื่อพิจารณาในบริบทของการดำเนินงานแต่ละพื้นที่นั้น ที่ศูนย์นครนายกได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เกษตรปลอดภัยและนันทนาการ โดยบูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพท้องถิ่นเข้ากับการพัฒนาพื้นที่ มุ่งเน้นการเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรปลอดภัยสำหรับนักเรียน นักศึกษา และชุมชน พร้อมทั้งส่งเสริมการแปรรูปและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงความยั่งยืนของระบบนิเวศท้องถิ่น (ที่มา https://www.dusit.ac.th/home/2023/1184842.html และ https://thainews.prd.go.th/thainews/news/view/2682/?bid=1
การดำเนินงานที่ศูนย์ลำปาง มีการบูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลำปาง (พ.ศ.2566-2570) โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมในการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ อีกทั้งได้มีการดำเนินงานร่วมกับที่จังหวัดลำพูน ในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมการพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรสร้างสรรค์ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 โดยบูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพท้องถิ่นเข้ากับแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด https://lampang.dusit.ac.th/w2021/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%81/ และ https://lampang.dusit.ac.th/w2021/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%9B/)
การดำเนินงานที่วิทยาเขตสุพรรณบุรี มีการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาพืชท้องถิ่น (แห้วจีนสุพรรณบุรี) พ.ศ.2566-2570 ซึ่งเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากพืชท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ผ่านความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ (ที่มา http://suphanburicampus.dusit.ac.th/new/2023/81919/)
ในพื้นที่มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นพื้นที่ในบริบทเมือง จึงได้มีการเปลี่ยนดาดฟ้าธรรมดาให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียวสารพัดประโยชน์ ณ อาคาร Activity Space มหาวิทยาลัยสวนดุสิตได้มีการเลือกใช้ระบบ Intensive Green Roof ที่มีการปลูกต้นไม้ขนาดใหญ่ และ พืชผักสวนครัว เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบให้กับโรงครัวและศูนย์อาหาร และยังเน้นใช้ประโยชน์เป็นมุมพักผ่อน ทำกิจกรรมต่างๆ และเป็นศูนย์การเรียนรู้ให้กับเด็กนักเรียน โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ข้อดีของสวนบนดาดฟ้า ในช่วงนี้ที่อากาศร้อนมากๆ สวนบนดาดฟ้าสามารถช่วยลดความร้อนและปัญหาฝุ่นละออง PM2.5เข้าสู่ตัวอาคารได้เป็นอย่างดี
ระบบ Green Roof บนดาดฟ้า ประกอบไปด้วยระบบกันซึมแบบแผ่น Poly Vinyl Chroloide รุ่น AquaShield PVC และติดตั้งวัสดุแผ่นระบายน้ำเกรดพรีเมี่ยม AquaDrainCell ความหนา 3 ซม. พื้นทางเดินมีการปรับยกสูงด้วยโดยไม่ต้องเจาะยึดพื้นดาดฟ้าด้วย Z’Raiser วัสดุที่สามารถปรับระดับได้หลายความสูง ตั้งแต่ 3 ซม.จนถึง 1 เมตร ตัววัสดุทำมาจาก Recycle Polypropylene ที่มีน้ำหนักเบาแข็งแรงทนทาน รับน้ำหนักได้มากถึง 1.5 ตัน/1 ตัว รองรับต้นไม้และพื้นไม้ช่วยทำให้น้ำระบายน้ำบนพื้นผิวทางเดินได้อย่างรวดเร็ว ไม่ทำให้น้ำขังบนผิวทางดิน https://zillioninnovation.com/portfolio/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%95-2
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเกิดการบูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพในแผนพัฒนาระดับพื้นที่ สร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและหน่วยงานท้องถิ่น พัฒนาศูนย์เรียนรู้ที่คำนึงถึงระบบนิเวศท้องถิ่น ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ซึ่งการดำเนินงานทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการบูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพท้องถิ่นเข้ากับการพัฒนาในทุกมิติ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมและการบูรณาการองค์ความรู้จากทุกภาคส่วนเป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญ