สวนดุสิต กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
มหาวิทยาลัยสวนดุสิตใช้การบริหารจัดการแบบพลวัตเป็นแกนหลักขององค์กร เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย SDGs โดยมีจุดเน้นด้านความหลากหลายทางการศึกษา ความเป็นเลิศในการผลิตกำลังคน พลังสติปัญญา ความรู้และสร้างนวัตกรรม และการบริการวิชาการ
การดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในมหาวิทยาลัยสวนดุสิตสำเร็จลุล่วงได้จากความร่วมมือของทุกภาคส่วนภายในมหาวิทยาลัย และศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง สวนดุสิตได้ใช้การจัดการแบบพลวัตรที่เปรียบเสมือนแกนหลักในการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยเน้นความหลากหลายทางการศึกษา ความเป็นเลิศในการผลิตกำลังคน พลังทางปัญญา ความรู้และนวัตกรรมตลอดจนการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่สวนดุสิตได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อการมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ส่งเสริมความเป็นเมืองและชุมชนที่ยั่งยืน บรรลุการบริโภคและการผลิตที่รับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงความร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อไปสู่เป้าหมายที่กำหนด
ด้วยปรัชญาที่เล็กแต่ฉลาด (SMALL but SMART) มหาวิทยาลัยสวนดุสิตจึงได้พัฒนารูปแบบใหม่ของการมุ่งเน้นเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยในการปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด การมีบุคลิกภาพที่โดดเด่น การมีองค์กรที่มีความโปร่งใส และการทางานบนรากฐานแห่งความประณีต เพื่อกำหนดทิศทางและติดตามการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเพื่อบรรลุเป้าหมายของมหาวิทยาลัย และวัตถุประสงค์ที่มีความเชื่อมโยงกับวิถีใหม่ (New Normal) อย่างไรก็ตาม สวนดุสิตได้สร้างความท้าทายเพิ่มเติมในด้านต่างๆ เช่น ความหลากหลายทางวิชาการ การให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวก การปรับตัวขององค์กรเพื่อความอยู่รอด และความเป็นเลิศในสาขาที่เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านหรืออัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
ในการที่จะบรรลุเป้าหมายได้นี้จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนและร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการสร้างความเข้าใจและการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อการบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนของ THE Impact Rankings ในปี 2566 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ