เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
15
ชีวิตบนบก
ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน หยุดยั้งการรุกรานของทะเลทราย หยุดและย้อนกระบวนการเสื่อมโทรมของดิน หยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ.
No. | Indicator | Result |
---|---|---|
15.2.1 | งานที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ยั่งยืน การสนับสนุน หรือจัดงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์และใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยั่งยืน รวมทั้งป่าไม้และสัตว์ป่าด้วย | 15.2.1.1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยวิทยาเขตสุพรรณบุรี จัดกิจกรรม ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ “โครงการ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 90 ปี” ประจำปี 2565 ในวันที่ 11 ตุลาคม 2565 ณ หอมขจรฟาร์ม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี ข้อมูล ณ วันที่ 12 ต.ค. 2565 ลิงก์เผยแพร่ – https://www.dusit.ac.th/home/2022/1012330.html นำเสนอ 1 ——————————————————————————————————- 15.2.1.2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยศูนย์การศึกษาลำปาง พร้อมด้วยอาจารย์และนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เข้าร่วมกิจกรรมปลูกป่าในโครงการ “ต้นไม้ล้านต้น ล้านความดี” โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ฟื้นฟู ป่าชุมชน และพัฒนาคาร์บอนเครดิต โดยกิจกรรมการปลูกป่าครั้งนี้จัดขึ้น ณ ศูนย์การเรียนรู้มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง (ดอยพระบาท) ลิงก์เผยแพร่ – https://lampang.dusit.ac.th/w2021/โครงการ-ต้นไม้ล้านต้น-ล/ นำเสนอ 2 |
15.2.2 | อาหารที่ผลิตจากแหล่งเพาะปลูกที่ยั่งยืนในมหาวิทยาลัย มีนโยบายเพื่อสร้างหลักประกันว่าอาหารในมหาวิทยาลัยเพาะปลูกผลิตและเก็บเกี่ยวจากแหล่งเกษตรที่ยั่งยืน | 15.2.2.1 ประกาศมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เรื่อง นโยบายการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พลังงาน และทรัพยากรของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ลงวันที่ 18 สิงหาคม2565 ให้นักศึกษา บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วนร่วมในการดำเนินการ จัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน และทรัพยากรของมหาวิทยาลัย ตามข้อ 2 การสรรหาแหล่งอาหารที่ได้มาตรฐาน การประกอบอาหารที่ปราศจากสิ่งเจือปน ในทุกขั้นตอน จากท้องถิ่นที่มีกระบวนการผลิตอย่างยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค หลักฐาน – ประกาศ นโยบายการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมฯ ลิงก์เผยแพร่ https://sduzerowaste.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/11/environmental-quality-management-policy-2565.pdf นำเสนอ 1 https://sduzerowaste.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/11/food-select-source.pdf นำเสนอ 2 Policy create 2021 นำเสนอ Policy review 2022 นำเสนอ ยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน นำเสนอ |
15.2.3 | รักษาและขยายความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศในปัจจุบัน มีการทำงานโดยตรง เพื่อรักษาและขยายความหลากหลายทางชีวภาพให้คงอยู่ในระบบนิเวศ ทั้งพืชและสัตว์โดยเฉพาะระบบนิเวศภายใต้สถานการณ์การคุกคาม | (X) free ( ) paid 15.2.3.1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา ได้ดำเนินการจัดกิจกรรม “ศูนย์พันธุกรรมพืชอนุรักษ์ในจังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ระยะที่ 4” เพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีอย่างมีประสิทธิภาพ สำรวจทรัพยากรชีวภาพมุ่งเน้นการรวบรวมพันธุ์ จัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ และรวบรวมพรรณพืชสมุนไพรพื้นเมืองประเภทไม้พุ่มและล้มลุก ดำเนินการโดยสำรวจและเก็บรวบรวมตัวอย่างพืชสมุนไพรประเภทไม้ยืนต้นและไม้พุ่ม ในจังหวัดสุพรรณบุรี ครอบคลุมพื้นที่ 10 อำเภอ ในจังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี อำเภอสองพี่น้อง อำเภอบางปลาม้า อำเภออู่ทอง อำเภอศรีประจันต์ อำเภอดอนเจดีย์ อำเภอสามชุก อำเภอหนองหญ้าไซ เดิมบางนางบวช และอำเภอด่านช้าง ดำเนินการรวบรวมและปลูกดูแลพันธุ์พืชสมุนไพรพื้นเมืองประเภทไม้ยืนต้นและไม้พุ่มในพื้นที่แปลงรวบรวมพันธุ์ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี พร้อมทั้งจัดทำป้ายข้อมูลสารสนเทศ นอกจากนี้ยังมีการจัดทำป้ายแผนผังพันธุ์ไม้ยืนต้นภายในแปลงปลูกพืชอนุรักษ์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้าศึกษาพันธุ์ไม้ในพื้นที่ได้เห็นตำแหน่งของต้นไม้แต่ละชนิดอย่างชัดเจน สะดวกต่อการเดินชมศึกษาพันธุ์ไม้ จากการสำรวจและรวบรวมพันธุกรรมพืชในครั้งนี้ ได้มีการรวบรวมพืชสมุนไพรพื้นเมืองประเภทไม้ยืนต้นและไม้พุ่ม จำนวน 9 ชนิด มาปลูกเพิ่มเติมและจัดภูมิทัศน์ในพื้นที่ดังกล่าวให้สวยงาม เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาหาความรู้ ต่อผู้ที่สนใจเกี่ยวกับลักษณะทางพฤกษศาสตร์ และสรรพคุณทางด้านสมุนไพรของพืชในจังหวัดสุพรรณบุรีและพื้นที่ใกล้เคียง ระยะเวลาดำเนินการ: ม.ค. – ก.ย. 2565 ลิงก์เผยแพร่ https://sdg.dusit.ac.th/2023/4093/ นำเสนอ 1 ——————————————————————————————————- 15.2.3.2 ฐานข้อมูลพันธุกรรมพืช รวบรวมพันธ์ุไม้ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิตและพื้นที่ใกล้เคียง ลิงก์เผยแพร่ – http://www.rspg.dusit.ac.th/64/index.php/tree นำเสนอ 2 |
15.2.4 | หลักสูตรการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศ มีการนำเสนอโปรแกรมการศึกษาทางระบบนิเวศ (เน้นพันธุ์พืชป่าและพันธุ์สัตว์ป่า) ทั้งในชุมชนท้องถิ่นหรือระดับชาติ | ลิงก์เผยแพร่ 15.2.4.1 รายวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต https://sdg.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/10/15.2.4.1.pdf นำเสนอ 1 ——————————————————————————————————– 15.2.4.2 การอบรมหลักสูตรบทบาทของมัคคุเทศก์ในงานอนุรักษ์และการต่อต้านการค้างาช้างและสัตว์ป่าผิดกฎหมาย ได้รับความร่วมมือจาก องค์กรกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศไทย (World Wide Fund for Nature International: WWF) และหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ลิงก์เผยแพร่ https://sdg.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/10/15.2.4.2.pdf นำเสนอ 2 |
15.2.5 | การบริหารจัดการพื้นที่ทางการเกษตรและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (การขยาย โอกาสทางการศึกษา) มีการเสนอโปรแกรมการศึกษา หรือการขยายโอกาสทางการศึกษาเพื่อชุมชนระดับท้องถิ่น หรือระดับชาติ เพื่อการจัดการพื้นที่ทางการเกษตรและการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน | (X) free ( ) paid 15.2.5.1 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เข้าเยี่ยมชม โครงการ SMART AGRICULTURE เพื่อศึกษาเกี่ยวกับฟาร์มต้นแบบเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะ ที่สามารถควบคุมไฟฟ้า ความชื้น การให้น้ำและปุ๋ย จากโทรศัพท์มือถือเพียงเครื่องเดียว ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้ปุ๋ยและลดต้นทุนการให้ปุ๋ยที่มากเกินจำเป็น ณ หอมขจรฟาร์ม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จังหวัดสุพรรณบุรี ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยสวนดุสิตได้จัดแสดงผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมสินค้าทางการเกษตรที่ทางมหาวิทยาลัยทำร่วมกับวิสาหกิจชุมชนในครั้งนี้ด้วย ซึ่งทาง ส.อ.ท. จะพยายามผลักดัน ให้คำปรึกษา พร้อมทั้งร่วมพัฒนาบรรจุภัณฑ์และเชื่อมโอกาสทางการตลาด รวมถึงหาแนวการทำงานร่วมเพื่อส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมเกษตรให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปข้อมูล ณ วันที่ 27 ก.ค. 2565 ลิงก์เผยแพร่ – https://fti.or.th/2022/07/27/ส-อ-ท-ยกทัพเยี่ยมชม-โครงก/ นำเสนอ 1 ——————————————————————————————————– 15.2.5.2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยคณะผู้วิจัยโครงการนวัตกรรมระบบการท่องเที่ยวอัจฉริยะส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี ภายใต้ทุนวิจัยพื้นฐานจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ได้พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนสู่เมืองอัจฉริยะและรองรับสถานการณ์หลังโควิด-19 โดยประสานความร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) และจังหวัดสุพรรณบุรี คัดเลือกชุมชนพร้อมเสนอขายเพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาชุมชนสู่การยกระดับการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวชุมชนคาร์บอนต่ำที่มีความพร้อม ทั้งด้านคน รูปแบบและกิจกรรมการท่องเที่ยว ประมาณ 30 ชุมชน เพื่อให้บริษัทนำเที่ยวไปเสนอขายนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มอนุรักษ์ที่มีกำลังซื้อสูง โดยจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับกรุงเทพฯ และพระนครศรีอยุธยา เพื่อส่งต่อการท่องเที่ยวรอบเมืองหลวงของประเทศไทย โดยดึงศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนเชิงอาหารและวิถีชีวิตมาเป็นจุดขายให้ชุมชนสามารถฟื้นตัวและปรับตัวในภาวะโควิด-19 ให้มีระบบจัดการที่ดี และเชื่อมต่อกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ซึ่งเป็นเศรษฐกิจหลักของจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อพัฒนาสุพรรณบุรีให้เป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และการท่องเที่ยวชุมชนเชิงเกษตร อันเป็นแหล่งเรียนรู้การปลูกข้าวและเกษตรอื่น ๆ รวมถึงวัฒนธรรมชุมชน เพื่อช่วยพลิกฟื้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของสุพรรณบุรี ข้อมูล ณ วันที่ 3 พ.ค. 2565 ลิงก์เผยแพร่ https://www.mediaofthailand.com/2022/05/blog-post_9.html นำเสนอ 2 |
15.3.1 | การใช้การอนุรักษ์และการฟื้นฟูที่ดินอย่างยั่งยืน (1 นโยบาย) มีนโยบายที่เป็นหลักการประกันการอนุรักษ์ การฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืนของระบบนิเวศบนบกซึ่งเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะป่า ภูเขา และพื้นที่แห้งแล้ง | 15.3.1.1 ประกาศมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เรื่อง นโยบายการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พลังงาน และทรัพยากรของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ลงวันที่ 18 สิงหาคม2565 ให้นักศึกษา บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วนร่วมในการดำเนินการ จัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน และทรัพยากรของมหาวิทยาลัย ตามข้อ 4 ส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารการจัดการด้านการวางระบบโครงสร้างพื้นฐานและปรับปรุงด้านภูมิทัศน์ตามหลักการจัดสวนเชิงนิเวศและการรักษาพื้นที่สีเขียว รวมถึงการอนุรักษ์และการฟื้นฟูที่ดินอย่างยั่งยืน หลักฐาน – ประกาศ นโยบายการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมฯ ลิงก์เผยแพร่ https://sdg.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/10/Announcement-of-Environmental-Quality-Management-Policy.pdf นำเสนอ Policy create 2021 นำเสนอ Policy review 2022 นำเสนอ ยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน นำเสนอ |
15.3.2 | การกำกับติดตามสถานภาพของสิ่งมีชีวิตที่จัดโดย IUCN และการอนุรักษ์สิ่งมีชีวิต อื่น ๆ (มากกว่า 1 นโยบาย) มีนโยบายในการจัดจำแนก ติดตาม และป้องกัน สิ่งมีชีวิตในบัญชีแดงของ IUCN และรายการสิ่งมีชีวิตและถิ่นอาศัยที่ได้รับ การอนุรักษ์ระดับชาติ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการดำเนินกิจกรรมใด ๆ ของมหาวิทยาลัย | 15.3.2.1 ประกาศมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เรื่อง นโยบายการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พลังงาน และทรัพยากรของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2565 ให้นักศึกษา บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน และทรัพยากรของมหาวิทยาลัย ตามข้อ 5 ส่งเสริมการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เฝ้าระวังและติดตามสถานภาพของทรัพยากรในพื้นที่ ป้องกันผลกระทบที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตต่างถิ่น หลักฐาน – ประกาศ นโยบายการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมฯ ลิงก์เผยแพร่ https://sduzerowaste.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/11/environmental-quality-management-policy-2565.pdf นำเสนอ 1 ——————————————————————————————————– 15.3.2.2 ประกาศมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เรื่อง มาตรการประหยัดพลังงาน เพื่อให้บุคลากรทุกคนในมหาวิทยาลัยปฏิบัติเพื่อลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก หลักฐาน MOU ประกาศเจตนารมณ์เพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน.pdf ลิงก์เผยแพร่ https://sdg.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/10/mou-suphan-intention.pdf นำเสนอ 2 Policy create 2021 นำเสนอ Policy review 2022 นำเสนอ ยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน นำเสนอ |
15.3.3 | ความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น ที่เป็นส่วนหนึ่งในแผนงานและการพัฒนามีการนำความหลากหลายทางชีวภาพระดับท้องถิ่นรวมไว้ใน กระบวนการวางแผนและพัฒนา (เช่น การสร้างสิ่งปลูกสร้างใหม่ ๆ) | 15.3.3.1 กรอบแผนแม่บท ระยะ 5 ปีที่เจ็ด (1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2569) โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองพระราชดำริโดย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต หลักฐาน 15.3.3.1 ผังความคิดการอนุรักษ์และการนำไปใช้ประโยชน์ โครงการ อพ.สธ.-มสด. ตามแผนแม่บทฯ ระยะ 5 ปีที่ 7 (ปี 2565-2569) ลิงก์เผยแพร่ https://sdg.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/10/15.3.3.1.pdf นำเสนอ 1 http://www.rspg.or.th/rspg_co_agencies/g5/27_SDU/MP_SDU.pdf นำเสนอ 2 |
15.3.4 | การลดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตต่างถิ่น (มากกว่า 1 นโยบาย) มีนโยบายเกี่ยวกับการลดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตต่างถิ่นในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย | 15.3.4.1 ประกาศมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เรื่อง นโยบายการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พลังงาน และทรัพยากรของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ลงวันที่ 18 สิงหาคม2565 ให้นักศึกษา บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วนร่วมในการดำเนินการ จัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน และทรัพยากรของมหาวิทยาลัย ตามข้อ 5 ส่งเสริมการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เฝ้าระวังและติดตามสถานภาพของทรัพยากรในพื้นที่ ป้องกันผลกระทบที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตต่างถิ่น หลักฐาน – ประกาศ นโยบายการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมฯ ลิงก์เผยแพร่ https://sduzerowaste.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/11/environmental-quality-management-policy-2565.pdf นำเสนอ 1 ——————————————————————————————————– 15.3.4.2 MOU ประกาศเจตนารมณ์เพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน ระหว่างมหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี ลิงก์เผยแพร่ https://sdg.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/10/mou-suphan-intention.pdf นำเสนอ 2 comment นโยบายการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พลังงานและทรัพยากรมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ข้อ 5 Policy create 2021 นำเสนอ Policy review 2022 นำเสนอ ยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน นำเสนอ |
15.3.5 | ความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศบนบกที่ร่วมกันใช้ประโยชน์ ร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นในการรักษาระบบนิเวศบนบกที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน | 15.3.5.1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการปลูกกล้วยเล็บมือนางและการแปรรูปผลิตภัณฑ์เชิงชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (อพ.สธ. – มสด.) เพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุ์กล้วย ที่ทรงคุณค่าให้อยู่คู่สังคมไทย เนื่องจากกล้วยเป็นพืชที่มีความใกล้ชิดกับวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทย แต่ด้วยข้อจำกัดในช่วงที่ผ่านมา เกษตรกรมีการปลูกกล้วยเล็บมือนางโดยไม่มีหลักวิชาการหรือ การจัดการที่เหมาะสมทำให้ผลผลิต ไม่ได้คุณภาพ ประกอบกับขาดองค์ความรู้ในการแปรรูปกล้วยเล็บมือนางไปเป็นนวัตกรรมอาหารที่หลากหลาย ด้วยเหตุนี้มหาวิทยาลัยสวนดุสิตได้เล็งเห็นว่ากล้วยเล็บมือนางเป็นพืชที่ตลาดมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับแปลงเกษตรหลังโรงสีข้าวสวนดุสิต อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี มีพื้นที่ว่างที่เหมาะสมในการทดลองปลูกกล้วยเล็บมือนางสายพันธุ์ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด จึงได้ศึกษาสภาพการปลูกและขยายสายพันธุ์กล้วยเล็บมือนางที่มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และนำผลผลิตกล้วยเล็บมือนางที่ได้ไปเป็นวัตถุดิบในการ แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารต้นแบบ ได้แก่ ไอศกรีมกล้วยเล็บมือนาง แครกเกอร์หน้ากล้วยเล็บมือนางอบ และกล้วยเล็บมือนางอบ เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมและมีศักยภาพในการผลิตจำหน่าย ทั้งนี้เพื่อประเมินศักยภาพในการแปรรูปผลผลิตกล้วยเล็บมือนางข้างต้นเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อการใช้ประโยชน์ต่อกิจกรรมของมหาวิทยาลัยสวนดุสิตในอนาคต และพัฒนานวัตกรรมสู่ชุมชนตามอัตลักษณ์และนโยบายเพื่อความเข้มแข็งของมหาวิทยาลัย โดยได้แนะนำและสอนวิธีการแปรรูปจากกล้วยเล็บมือนาง พันธุ์ชุมพร ที่มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินการเพาะปลูกในพื้นที่ 10 ไร่มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จังหวัดปราจีนบุรี โดยมีอาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นวิทยากรถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ได้แก่ (1) ไอศกรีมกล้วยเล็บมือนาง (2) แครกเกอร์กล้วยเล็บมือนาง และ (3) กล้วยเล็บมือนางอบ เพื่อให้ประชาชนที่มาร่วมโครงการได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับการปลูกกล้วยเล็บมือนางและการแปรรูปผลิตภัณฑ์เชิงชุมชน สามารถนำผลิตภัณฑ์ไปพัฒนาเป็นสินค้าเพื่อจำหน่ายในชุมชนและชุมชนใกล้เคียงเพื่อเพิ่มรูปแบบสินค้า สร้างรายได้ ทำให้ชุมชนสามารถพัฒนาสินค้าและต่อยอดวัตถุดิบ เพื่อเพิ่มมูลค่าและการพัฒนาที่ยั่งยืนให้แก่ชุมชน โดยจัดโครงการในวันที่ 6 สิงหาคม 2565 ข้อมูล ณ วันที่ 8 สิงหาคม 2565 ลิงก์เผยแพร่ – https://bcproject.dusit.ac.th/ นำเสนอ 1 ——————————————————————————————————– 15.3.5.2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดย วิทยาเขตสุพรรณบุรี สถาบันวิจัยและพัฒนา และหอมขจรฟาร์ม ได้ร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดพิธีลงนามสัญญาการเข้าร่วมโครงการ “การพัฒนากลุ่มเครือข่ายเกษตรปลอดภัยเพื่อ การพัฒนาอย่างยั่งยืน รุ่นที่ 1” เพื่อเป็นการส่งเสริมการปลูกพืชมูลค่าสูงในโรงเรือน สำหรับเกษตรกรในพื้นที่ และเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่เกษตรกร ณ อาคาร SDU Library โซน 1 ชั้น 1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี ข้อมูล ณ วันที่ 30 มี.ค. 2565 ลิงก์เผยแพร่ http://suphanburicampus.dusit.ac.th/new/2022/64712/ นำเสนอ 2 |
15.4.1 | แนวทางและมาตรฐานในการระบายน้ำทิ้ง มีมาตรฐานในการจัดการคุณภาพน้ำและมีแนวทางในการปล่อยน้ำเสีย (ส่งเสริมสนับสนุนเรื่อง คุณภาพน้ำเพื่อการปกป้องระบบนิเวศ สัตว์ป่า สุขภาพและสวัสดิภาพของมนุษย์) | 15.4.1.2 แนวปฏิบัติการจัดการของเสียและของเสียอันตราย เรื่อง การฝังกลบและการรีไซเคิล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ลิงก์เผยแพร่ https://sduzerowaste.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/11/water-anddrinkwater-system.pdf นำเสนอ |
15.4.2 | นโยบายในการลดขยะพลาสติก มีนโยบายในการลดขยะพลาสติกในมหาวิทยาลัย | 15.4.2.1 ประกาศมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เรื่อง นโยบายการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พลังงาน และทรัพยากรของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ลงวันที่ 18 สิงหาคม2565 ให้นักศึกษา บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วนร่วมในการดำเนินการ จัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน และทรัพยากรของมหาวิทยาลัย ตามข้อ 3 มุ่งสร้างจิตสำนึก ให้ความรู้ ความเข้าใจ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักศึกษา บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดำเนินการตามหลักการ 3R คือ Reduce (ลดการใช้หรือใช้น้อยเท่าที่จำเป็น) Reuse (การใช้ซ้ำ) และ Recycle (แปรรูปมาใช้ใหม่) เพื่อลดปริมาณของเสียและของเสียอันตราย โดยเฉพาะการลดการใช้พลาสติกจากต้นทาง เป็นการลดภาระการกำจัดขั้นสุดท้าย หลักฐาน – ประกาศ นโยบายการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมฯ ลิงก์เผยแพร่ https://sduzerowaste.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/11/environmental-quality-management-policy-2565.pdf นำเสนอ 1 https://sduzerowaste.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/11/reducing-plastic.pdf นำเสนอ 2 Policy create 2021 นำเสนอ Policy review 2022 นำเสนอ ยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน นำเสนอ |
15.4.3 | นโยบายในการกำจัดขยะอันตราย มีนโยบาย กระบวนการ และการปฏิบัติในการกำจัดขยะและวัสดุอันตราย | 15.4.3.1 ประกาศมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เรื่อง นโยบายการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พลังงาน และทรัพยากรของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ลงวันที่ 18 สิงหาคม2565 ให้นักศึกษา บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วนร่วมในการดำเนินการ จัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน และทรัพยากรของมหาวิทยาลัย ตามข้อ 6 ส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหาร การจัดการ ปรับปรุง ป้องกัน และควบคุมมลพิษโดยการจัดการของเสีย ของเสียอันตราย น้ำเสีย อากาศ สารเคมีและมลพิษอื่น ๆ และให้ความสำคัญกับการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้มาตรฐานที่กำหนด เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หลักฐาน – ประกาศ นโยบายการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมฯ ลิงก์เผยแพร่ https://sduzerowaste.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/11/environmental-quality-management-policy-2565.pdf นำเสนอ 1 https://sduzerowaste.dusit.ac.th/wp-content/uploads/2023/11/harzadouswaste-system.pdf นำเสนอ 2 Policy create 2021 นำเสนอ Policy review 2022 นำเสนอ ยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน นำเสนอ |